นัดพบแพทย์

ทำไมลูกต้องเล่น (Mother & Care)

23 Sep 2016 เปิดอ่าน 1420

"การเล่น" นับ ว่าเป็นกิจกรรมสำคัญของเด็กในทุกช่วงวัย ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการและเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แบบ และสิ่งที่สำคัญในการเล่นก็คือ คุณพ่อและคุณแม่ต้องไม่ปิดกั้นจินตนาการในการเล่นของลูกค่ะ

           Growing Up ฉบับนี้ ได้รับเกียรติจาก พญ.อมรรัตน์ ภัทรวรธรรม กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการเด็ก ช่วยไขข้อข้องใจเกี่ยวกับการเล่น ของเด็กค่ะ
 
ทำไมต้องให้ เด็กเล่น?

           การ เล่นเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กเพลิดเพลิน มีความสุข สนุก อารมณ์ดี รวมถึงทำให้เด็กมีการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ซึ่งในทาง การแพทย์แล้ว การเล่นถือเป็นการเรียนรู้ของเด็กนอกจากการเรียนรู้ทางวิชาการ แต่พ่อแม่มักจะห่วงในด้านวิชาการ รีบส่งลูกไปเรียนตั้งแต่เล็กเพราะกลัวลูกเรียนไม่ทัน ซึ่งการเรียนทางวิชาการมากกว่าจะทำให้ลูกมีความฉลาด แต่ขาดความเฉลียวที่ลูกจะได้รับจากการเล่น ทั้งในแง่ของการคบเพื่อน การใช้ชีวิตในสังคมภายหน้า หรือขาด EQ ที่จะใช้ในการประยุกต์สิ่งต่างๆ ให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
 
           การ เล่นของเด็กในวัยก่อนประถมนั้น มีความสำคัญมากกว่าการเรียนรู้ในเรื่องวิชาการ เพราะเป็นช่วงที่เด็กต้องการและทำให้เด็กได้เรียนรู้การใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายซึ่งเป็นพื้นฐานในการใช้ทักษะ เหล่านี้ต่อไปภายหน้า เช่น ฝึกการใช้ กล้ามเนื้อมือ กล้ามเนื้อมัดเล็ก สามารถ นำไปใช้ในการเขียนหนังสือ หรือกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่จะต้องพัฒนาโดยการกระโดด การวิ่งเล่น ซึ่งการเล่นจะช่วยเสริมทักษะ ให้เด็กสามารถกะระยะใกล้ไกลได้
 
           นอก จากนี้ การเล่นจะทำให้เด็กได้เรียนรู้ถึงวิธีการแก้ปัญหาบางอย่างที่ไม่มีในวิชาการ เช่น เวลาที่เด็กจะเล่น ก็มักสังเกตสิ่งของก่อนว่าจะเล่นได้อย่างไร และเมื่อเล่นสิ่งนั้นแล้วจะเกิดอะไรตามมา เช่น เคาะแล้วเกิดเสียงดัง ทำให้เกิดการเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว และยังเป็นการฝึกทักษะสังคมในการที่จะเล่นกับคนอื่นด้วย
 
เล่นอย่างไร...ไม่อันตราย

           ถึง แม้บ่อยครั้งที่พ่อแม่มักจะหลีกเลี่ยงหรือห้ามไม่ให้เด็กเล่นใช้กำลัง เล่นอาวุธ เพราะกลัวว่าเด็กจะก้าวร้าวเมื่อโตขึ้น แต่ที่จริงแล้วพ่อแม่ควรคำนึงว่าการเล่นนั้นเหมาะกับพัฒนาการในช่วงวัยของ ลูกหรือเปล่า และดูในเรื่องของความปลอดภัย เช่น วัยนี้จะเล่นต่อสู้ได้หรือยัง การเอาไม้มาตีกัน หรือเอาปืนปลอมมายิงกัน เพราะเด็กเล็กยังไม่สามารถประเมินกำลังของตัวเองได้ อยากรู้อยากเห็นและไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง อาจคิดว่าคนเราตายแล้วฟื้นได้ และใช้กำลังมากโดยที่ไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านั้นทำอันตรายอะไรบ้าง แยกไม่ได้ระหว่างปืนของเล่นกับของจริงว่าต่างกันอย่างไร จึงต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดและสอนลูก หรืออาจหาการเล่นที่ปลอดภัย ให้ลูก เช่น ถ้าชอบเล่นต่อสู้ ก็อาจจะส่งเสริมโดยการชวนลูกไปเล่นอย่างอื่นที่ต้องออกกำลังเหมือนกัน อย่างการเตะบอล โยนบอล วิ่งไล่จับ หรือการละเล่นสมัยก่อน มอญซ่อนผ้าที่ใช้ผ้ามาตีกันก็เป็นการเล่นที่มีการตีแต่เป็นการตีเบาๆ และชั่วคราวในการเล่นเท่านั้น

           ทั้ง นี้ ถ้าปล่อยให้เด็กเล่นใช้กำลังโดยที่ไม่ได้สอนเด็กอย่างถูกต้อง เท่ากับเป็นการส่งเสริมความรุนแรงในเด็กได้ทางหนึ่ง เพราะเด็กไม่รู้ว่าเล่นแล้วจะมีอันตรายอย่างไร และเวลาที่เด็กเล่นมักจะอินเข้าไปกับสิ่งนั้น เมื่อให้เขาเล่นได้ก็จะทำให้คิดว่าสามารถทำเช่นนั้นได้ในชีวิตจริงเหมือนกัน แต่การที่พ่อแม่จะห้ามไม่ให้เด็กเล่นอะไร จะต้องสามารถบอกเหตุผลกับลูกได้ว่าห้ามเพราะอะไร ถ้าทำไปแล้วจะเกิดผลอย่างไร ซึ่งจะทำให้เด็กได้เรียนรู้กฎระเบียบ การทำได้หรือทำไม่ได้ เรียนรู้ว่าในสังคมมีระเบียบวินัย ไม่สามารถทำตามความต้องการของตัวเองได้ทุกอย่าง ต้องหัดเรียนรู้และเคารพคนอื่นเช่นกัน
 
เรียนรู้การเล่นหลายแบบ

           พ่อ แม่ควรให้ลูกได้ลองเล่นหลายๆ แบบ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้หลากหลายบทบาท เช่น เด็กผู้ชายเล่นตุ๊กตาหรือทำกับข้าว หรือเด็กผู้หญิงตอกตะปู ก็เพื่อที่เด็กจะได้เรียนรู้ว่ามีการเล่นแบบนี้ และเป็นการเรียนรู้บทบาทของอีกฝ่ายที่สามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตหรือทำหน้าที่ แทน เมื่ออีกฝ่ายไม่อยู่
 
           นอก จากนี้ การให้เด็กได้เรียนรู้บทบาทหลาย ๆ อย่าง จะทำให้เข้าใจคนอื่นมากขึ้น เมื่อเติบโตก็จะมีมุมมอง  อีกอย่างว่า ผู้หญิงเล่นตุ๊กตา ผู้ชายเล่นปืนเพราะสนุกอย่างไร แทนที่เด็กจะมองแต่การเล่นของตัวเองอย่างเดียว และยังเป็นการพัฒนาด้านจินตนาการของเด็กด้วย เช่น เล่นบทบาทสมมติว่าเป็นเจ้าชาย เจ้าหญิง เล่นเป็นครู นักเรียน ซึ่งเด็กก็จะหัดเล่นสมมติตั้งแต่ของที่เหมือนจริง อย่างการเอาจานชามมาเล่นทำอาหาร และเมื่อถึงจุดหนึ่งเด็กก็จะปรับระดับการคิดขึ้นไปอีกคือ การสมมติจากของที่ไม่เหมือนจริง เช่น เอาท่อนไม้มาสมมติเป็นโทรศัพท์ เป็นการสร้างสิ่งนั้นให้มีขึ้นมาจากจินตนาการของเด็กและให้เด็กได้เรียนรู้ การแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง
 
สร้างจินตนาการจากการเล่น

           การ ที่เด็กจะมีจินตนาการและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ดีนั้น พ่อแม่ต้องปูพื้นฐานจากการเล่นตั้งแต่วัยเด็ก หากพ่อแม่มองว่าจินตนาการเหล่านั้นเป็นผลมาจากการเรียนรู้และพัฒนาการที่ ผ่านมา เด็กสามารถคิดได้ด้วยตัวเองแทนที่จะต้องให้พ่อแม่สั่ง ก็จะทำให้ลูกมีความคิดสร้างสรรค์ที่ออกมาจากการใช้จินตนาการของตัวเองมาก ขึ้น พ่อแม่ต้องไม่ห้ามความคิดหรือปิดกั้นจินตนาการของลูก ถึงแม้บางครั้งสิ่งนั้นอาจดูเป็นไปไม่ได้ก็ตาม แต่ในสิ่งที่เขาคิดขึ้นมาและเราคิดว่าเป็นไปไม่ได้นั้น อาจจะเป็นไปได้ในอนาคตก็ได้ เพราะเมื่อลูกมีจินตนาการแล้ว ก็จะทำให้เขาพยายามทำให้ได้ตามที่คิด

           สิ่ง ที่จำเป็นที่สุดในการส่งเสริมจินตนาการของลูก ก็คือ พ่อแม่ต้องเล่นกับลูก โดยการสมมติบทบาทต่าง ๆ ไปกับเขาด้วย จะทำให้เด็กได้เห็นถึงความคิดที่หลากหลายมุมมองมากขึ้น เรียนรู้ทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เกิดความรักและผูกพันระหว่างพ่อแม่กับลูก และควรส่งเสริมจินตนาการต่าง ๆ ของลูกด้วยการให้เขาได้ลองพยายามทำในสิ่งที่คิดขึ้นมา แต่ถ้าลูกทำไม่ได้ก็ไม่เป็นอะไร ควรสอนให้ลูกเข้าใจและให้กำลังใจลูกอยู่เสมอ

* ขอบคุณข้อมูลจาก : https://blog.eduzones.com/moobo/98508