มีวัคซีนหรือยาที่สามารถป้องกันโรคซิก้าได้หรือไม่?
ตอนนี้ยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันหรือยาที่ใช้รักษาโรคซิก้าได้
สตรีที่กำลังตั้งครรภ์สามารถเดินทางไปยังประเทศที่ตรวจพบผู้ป่วยโรคซิก้าได้หรือไม่?
ในขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับโรคซิก้ามากนัก ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของอเมริกา (CDC) มีขอแนะนำสำหรับคุณผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์และที่กำลังพยายามตั้งครรภ์ให้ระมัดระวังตัวเองเป็นพิเศษ
- สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่พบการระบาดของโรคซิก้า แต่หากมีความจำเป็นต้องเดินทางไปยังประเทศเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อหาแนวทางและวิธีป้องกันตัวเองจากการถูกยุงกัดอย่างเคร่งครัด
- สตรีที่กำลังพยายามตั้งครรภ์ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปยังสถานที่ในกลุ่มเสี่ยงควรปรึกษากับแพทย์ก่อน เพื่อหาแนวทางและวิธีป้องกันตัวเองจากการถูกยุงกัดอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ ประเทศในกลุ่มเสี่ยงที่มีการระบาดของโรคซิก้าอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ควรติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด
ไวรัสซิก้าจะมีผลกระทบอย่างไรต่อสตรีที่กำลังตั้งครรภ์หรือเด็กในท้อง?
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของอเมริกา (CDC) ได้ออกนโยบายข้อควรระวังในการเดินทาง (Level 2-Practice Enhanced Precautions) สำหรับผู้ที่ต้องเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรคซิก้า โดยนโยบายนี้ได้ถูกกำหนดขึ้นหลังจากประเทศบราซิลพบภาวะศีรษะเล็กในทารก (Microcephaly) และผลกระทบอื่นๆ ต่อการตั้งครรภ์ในคุณแม่ที่ติดเชื้อไวรัสซิก้า แต่อย่างไรก็ตามความเกี่ยวข้องระหว่างไวรัสซิก้ากับความผิดปกติในการตั้งครรภ์ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม ดังนั้น การป้องกันการถูกยุงกัดในหญิงตั้งครรภ์หรือผู้ที่กำลังพยายามตั้งครรภ์เอาไว้ก่อนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
สามารถใช้โลชั่นหรือสเปรย์กันยุงระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรได้หรือไม่?
ได้ โลชั่นและสเปรย์กันยุงนั้นปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเพียงพอ สตรีที่กำลังตั้งครรภ์และคุณแม่ที่ให้นมบุตรควรเลือกผลิตภัณฑ์ทากันยุงที่ได้รับการรับรองจาก อ.ย. และควรใช้ตามคำแนะนำบนฉลากของผลิตภัณฑ์
ถ้าผู้หญิงไม่มีครรภ์โดนยุงกัดและติดเชื้อไวรัสซิก้า จะมีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ในอนาคตหรือไม่?
ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเรื่องผลกระทบต่อเด็กในครรภ์กรณีที่คุณแม่เคยติดเชื้อไวรัสซิก้ามาก่อน เชื้อไวรัสซิก้ามักอยู่ในกระแสเลือดของผู้ติดเชื้อเพียงแค่ไม่กี่วันถึงหนึ่งอาทิตย์ และจะถูกกำจัดออกร่างกายหลังจากนั้น ทารกที่เกิดการปฏิสนธิในภายหลังจึงไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ประกอบกับในตอนนี้ทางการแพทย์ยังไม่มีหลักฐานใดๆ ยืนยันว่าเชื้อไวรัสซิก้ามีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในอนาคต ทั้งนี้ผู้หญิงที่เคยเป็นโรคซิก้าและต้องการตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ทันทีหลังหายจากการติดเชื้อ
สตรีตั้งครรภ์ที่เดินทางไปยังประเทศกลุ่มเสี่ยงจำเป็นต้องตรวจสอบว่าติดเชื้อไวรัสซิก้าหรือไม่?
หากคุณมีอาการไข้ เกิดผื่น ปวดตามข้อ หรือตาแดง ในช่วงเวลา 2 อาทิตย์หลังเดินทางกลับจากประเทศที่มีการตรวจพบผู้ป่วยไวรัสซิก้าควรพบแพทย์ทันที อย่าลืมแจ้งให้แพทย์ทราบว่าคุณได้เดินทางไปที่ไหนมา
สตรีที่เคยติดเชื้อไวรัสซิก้าก่อนการตั้งครรภ์สามารถให้กำเนิดทารกที่มีภาวะศีรษะเล็กได้หรือไม่?
เรายังไม่ทราบถึงผลกระทบที่ไวรัสซิก้ามีต่อเด็กในท้องกรณีที่คุณแม่ติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ แต่เรารู้แน่ชัดว่าไวรัสซิก้าไม่สร้างความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในอนาคต เชื้อไวรัสอยู่ในสายเลือดของผู้ติดเชื้อเพียงแค่ประมาณหนึ่งอาทิตย์ ทารกที่ปฎิสนธิหลังจากเชื้อไวรัสถูกจำกัดออกจากกระแสเลือดของคุณแม่แล้ว เด็กจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ
ปลอดภัยไหมที่จะเริ่มตั้งครรภ์หลังจากเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของไวรัสซิก้า?
เชื้อไวรัสซิก้าจะอยู่ในกระแสเลือดของผู้ติดเชื้อประมาณหนึ่งอาทิตย์ เด็กที่ปฎิสนธิหลังจากเชื้อไวรัสถูกกำจัดออกจากกระแสเลือดของคุณแม่แล้ว เด็กจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ
เมื่อเดินทางกลับจากประเทศในกลุ่มเสี่ยงต้องใช้เวลานานเท่าใด สตรีที่กำลังตั้งครรภ์จึงสามารถเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสซิก้าได้?
ด้วยเหตุผลหลายประการ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของอเมริกา (CDC) ยังไม่แนะนำให้สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ตรวจหาการติดเชื้อไวรัสซิก้าหลังเดินทางกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากผลการตรวจอาจได้รับอิทธิพลจากแอนติบอดีที่สร้างขึ้นเพื่อต่อต้านเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ และเรายังไม่ทราบถึงผลกระทบที่มีต่อทารกในครรภ์หากคุณแม่ตรวจพบว่าตนเองได้รับเชื้อไวรัสซิก้า นอกเหนือจากนั้น เรายังไม่ทราบแน่ชัดว่าความเสี่ยงต่อทารกที่อาจเกิดขึ้นเป็นผลมาจากอาการติดเชื้อไวรัสซิก้าของคุณแม่หรือไม่
สตรีที่เคยเดินทางไปยังประเทศในกลุ่มเสี่ยงควรรอสักระยะหนึ่งก่อนจะตั้งครรภ์หรือไม่?
ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเรื่องผลกระทบต่อเด็กในครรภ์กรณีที่คุณแม่เคยติดเชื้อไวรัสซิก้ามาก่อน เชื้อไวรัสซิก้ามักอยู่ในกระแสเลือดของผู้ติดเชื้อเพียงแค่ไม่กี่วันถึงหนึ่งอาทิตย์ และจะถูกกำจัดออกร่างกายหลังจากนั้น ทารกที่เกิดการปฏิสนธิในภายหลังจึงไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ประกอบกับในตอนนี้ทางการแพทย์ยังไม่มีหลักฐานใดๆ ยืนยันว่าเชื้อไวรัสซิก้ามีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในอนาคต ทั้งนี้ผู้หญิงที่ต้องการตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ทันทีหลังเดินทางกลับจากประเทศในกลุ่มเสี่ยง
โดย : นพ. สุรเชษฐ์ อภินิลบงกช
ขอบคุณบทความจาก : https://www.samitivejhospitals.com/th/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B9%8C/