ระดับอาการของโรคหมอนรองกระดูก
- อาการเริ่มต้น หมอนรองกระดูกปลิ้นออกมา..แต่ไม่ได้กดทับเส้นประสาท ทำให้มีอาการปวดหลังเป็นหลัก
- หากหมอนรองกระดูกที่ปลิ้นออกมาไปกดทับเส้นประสาท หรือเกิดการระคายเคือง จะเริ่มมีอาการปวดร้าวลงขาตามแนวที่เส้นประสาทเส้นนั้นไปเลี้ยง เช่น ตามต้นขา ขาด้านนอก ฝ่าเท้า หลังเท้า
- หากมีอาการชา อ่อนแรง ร่วมด้วย อาจบอกถึงระดับความรุนแรงสูง รวมทั้งถ้าหมอนรองกระดูกปลิ้นไปกดทับเส้นประสาทที่ควบคุมการขับถ่าย คนไข้อาจมีปัญหาขับถ่ายผิดปกติด้วยก็ได้ ซึ่งเป็นกรณีฉุกเฉินที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดด่วน ยิ่งปล่อยไว้นาน เส้นประสาทจะยิ่งบอบช้ำ
ผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้อง..ทางเลือกใหม่ที่ดีกว่า
ปัจจุบันมีการผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลัง ผ่านการส่องกล้อง Microscope เพื่อเข้าไปช่วยทำให้กำลังขยายในการมองเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น จึงสามารถผ่าตัดผ่านท่อขนาดเล็กโดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัดแบบเปิดเพื่อแหวกกล้ามเนื้อ และมีโอกาสหายขาดมากถึง 90 – 95 %
เมื่อไม่ต้องผ่าตัดแบบเปิด..นี่คือข้อดีที่ผู้ป่วยได้รับ!
- ลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
- เสียเลือดน้อยกว่า
- ใช้เวลาฟื้นตัวเร็ว 2 – 3 วัน
- ขนาดแผลเล็ก ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- ใช้เวลาผ่าตัดเพียง 1 – 1.30 ชั่วโมง
แม้กระดูกจะเสื่อมไปตามวัย แต่เราสามารถเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังได้ด้วยการออกกำลังกาย ไม่ปล่อยให้น้ำหนักตัวมากจนเกินไป ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ไม่อยู่ในท่าทางเดิมเป็นเวลานาน รวมทั้งงดสูบบุหรี่ เพียงแค่นี้ก็สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหมอนรองกระดูกได้แล้ว
นพ. นันทวัฒน์ อุตตโม
ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านออร์โธปิดิคส์
ศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ โรงพยาบาลพญาไท 2