นัดพบแพทย์

โรคกรดไหลย้อน โรคฮิตของคนทำงาน

02 Sep 2016 เปิดอ่าน 9073

โรคกรดไหลย้อนหมายถึงภาวะที่กรดในกระเพาะไหลย้อนมาในหลอดอาหาร
ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก

แนวทางการรักษา
โรคกรดไหลย้อนโรคกรดไหลย้อน สามารถรักษาให้หายได้
บางคนอาจหายได้ด้วยยา ซึ่งยาส่วนใหญ่ที่มีการใช้เพื่อรักษาได้แก่
กลุ่มยาที่ช่วยยับยั้งการหลั่งกรด หรือบางคนอาจหายได้ด้วยการผ่าตัด
โดยที่การรักษาจะต้องใช้เวลา 2-3 เดือนขึ้นไป
ทั้งนี้แพทย์จะแนะนำวิธีปฏิบัติตัวเพื่อเปลี่ยนแนวทางการดำเนินชีวิตที่
เหมาะสมให้กับท่าน เพราะการให้ยาเป็นเพียงการช่วยลดปริมาณกรด
ในกระเพาะลงเท่านั้น แต่กรดก็ยังคงไหลย้อนขึ้นมาอยู่ ซึ่ง ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางการดำเนินชีวิต ยังใช้ชีวิตอยู่เหมือนเดิมก็จะยังคงเป็นโรคนี้ซ้ำ ๆ
และยังต้องพึ่งยาไปเรื่อย ๆ

ดังนั้นควรรับประทานอาหารให้อิ่มพอดี และอย่ารับประทานอาหารใกล้เวลานอน
เพราะส่วนใหญ่กลับถึงบ้าน คนจะทานมื้อดึกแล้วก็นอน
ซึ่งจะทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้ง่าย และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
เพราะการออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อกระบังลมและกล้ามเนื้อบริเวณหูรูดทำ
งานได้ดีขึ้น การสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดรูปจนเกินไปก็มีส่วนให้เกิดโรคนี้ได้ง่าย
เนื่องจากจะเพิ่มความดันในช่องท้องมากขึ้น


การรักษาด้วยยา
ปัจจุบันกลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาโรคกรดไหลย้อนได้ผลดีที่สุด
เป็นกลุ่มยาที่ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งควรรับประทานยาก่อนอาหารครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง เพื่อให้ยาออกฤทธิ์เต็มที่เมื่ออาหารลงถึงกระเพาะอาหาร
และไม่ควรรับประทานยาโดยไม่รับประทานอาหารเลย เพราะอาจทำให้การรักษา
ได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร การรักษาด้วยยากลุ่มนี้จะใช้เวลา 2-3 เดือน
ซึ่งถ้าอาการดีขึ้นหรือหายเป็นปกติ แพทย์จะพิจารณาลดยาลงจนถึงหยุดยาได้ ยกเว้นบางรายอาจจำเป็นต้องใช้ยาในระยะยาว

การรักษาด้วยการผ่าตัด
ในบางกรณี คนใช้อาจต้องรับการรักษาโรคกรดไหลย้อนด้วยวิธีการผ่าตัด
เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำย่อยในกระเพาะไหลย้อนขึ้นไปได้ ซึ่งแพทย์จะพิจารณารักษาโดยวิธีนี้เมื่อกรณีที่การรักษาด้วยยาได้ผลดีแต่คน ไข้ไม่ต้องการทานยาต่อไปอีกหรือต้องการผ่าตัด เมื่อมีอาการข้างเคียงจากยา ไม่สามารถทนต่อการให้ยา หรือไม่สามารถทานยาได้สม่ำเสมอเป็นเวลานาน เมื่อผู้ป่วยอายุน้อย ไม่ต้องการใช้ยาเป็นเวลานาน สำหรับการผ่าตัดมีหลายวิธี เช่น ผ่าตัดเพื่อเสริมความแข็งแรงของหูรูดหลอดอาหารโดยผ่านการเปิดช่องท้อง หรือผ่านทางกล้องส่องหลอดอาหารทางปากโดยไม่ต้องเปิดช่องท้อง

การปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเมื่อเป็นโรคกรดไหลย้อน

1. เลิกสูบบุหรี่ และงดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์
2. หลีกเลี่ยงอาหารที่เพิ่มความเป็นกรดหรือ รบกวนการทำงานของหูรูดในกระเพาะ อาหาร เช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว มะเขือเทศ หัวหอม สะระแหน่ กาแฟ ช็อกโกแลต
3. ไม่ควรล้มตัวลงนอนในช่วง 2-3 ชั่วโมง หลังรับประทานอาหาร
4. ไม่สวมใส่เสื้อผ้า กางเกง กระโปรง ที่รัดแน่นจนเกินไป
5. ไม่รับประทานอาหารมาก หรืออิ่มจนเกินไปในแต่ละมื้อ
6. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง และรับประทานอาหารพวกผักและผลไม้ที่มีใยอาหารให้มากขึ้น
7. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากจนเกินไป
8. หนุนหัวเตียงให้สูงขึ้นประมาณ 6-8 นิ้ว (15 ซม.) ไม่ควรหนุนหมอนให้สูงขึ้นแทน เนื่องจากส่วนท้องจะงอลงและเพิ่มความดันในช่องท้องให้กรดไหลย้อนได้มากขึ้น
9. ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และไม่เครียดจนเกินไป

 

นพ.ภูริช ประณีตวตกุล

* ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.baanmaha.com