คนที่เป็นโรคอ้วน นอกจากรูปร่างที่อุ้ยอ้าย อึดอัดแล้ว มักได้รับโรคอื่นๆคุกคามตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต ทำให้อายุสั้นกว่าคนทั่วไปเป็นสองเท่า การผ่าตัดลดความอ้วนจึงเป็นทางเลือกในการรักษาโรคอ้วนที่มีประสิทธิภาพ สามารถลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเหล่านี้ได้ หากการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และการกินยาลดความอ้วนไม่ได้ผล หรือลดน้ำหนักได้แล้วกลับเกิดภาวะน้ำหนักเกินขึ้นมาใหม่
ปัจจุบันการผ่าตัดลดความอ้วนได้พัฒนาวิธีการเป็น Minimally Invasive Surgery โดยการผ่าตัดผ่านกล้อง มี 3 วิธีด้วยกัน
วิธีที่ 1 การผ่าตัดลดความอ้วนแบบใช้เข็มขัดรัดกระเพาะอาหาร (Gastric Banding) โดยใช้วิธีการเจาะแผลเล็กๆที่หน้าท้อง ใช้อุปกรณ์ลักษณะคล้ายเข็ดขัดสอดเข้าไปรัดกระเพาะอาหารตอนบน ทำให้กระเพาะอาหารมีขนาดเล็กลง รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น เป็นวิธีการผ่าตัดที่ได้ผลดี เมื่อน้ำหนักตัวคงที่ สามารถกลับมาแก้ไขนำสายรัดกระเพาะออกได้ในภายหลัง
วิธีที่ 3 การผ่าตัดลดความอ้วนแบบตัดต่อกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก (Gastric Bypass) ด้วยวิธีการส่องกล้องเข้าไปตัดเย็บกระเพาะอาหารให้มีขนาดเล็กลง ตัดตอนลำไส้เล็กมาเชื่อมต่อใหม่ให้อาหารไหลผ่านทางลัดไปสู่ลำไส้เล็กตอนปลายเร็วขึ้น ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง อาหารถูกดูดซึมได้น้อยลง จึงสามารถควบคุมน้ำหนักได้อย่างรวดเร็ว เป็นวิธีการควบคุมโรคอ้วนแบบถาวร ไม่สามารถแก้ไขคืนภายหลังได้ หลังการผ่าตัดลดน้ำหนักพบว่าเปอร์เซ็นต์ของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะหายใจลำบาก และโรคหัวใจ มีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน
การผ่าตัดลดความอ้วนด้วยวิธี Minimally Invasive Surgery จะช่วยให้ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง