Make Appointment

การฟื้นฟูผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง

11 Dec 2016 เปิดอ่าน 1485

โดย Dr. U. L.

ปัจจุบัน… ผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง มีมากขึ้น และโอกาสที่รอดชีวิตมีมากขึ้น เนื่องจากมีความก้าวหน้าทางการแพทย์ การบำบัดฟื้นฟูสามารถช่วยลดอาการผิดปกติและเพิ่มสมรรถภาพของผู้ป่วย

 ลักษณะอาการที่พบบ่อย

  • อัมพาตอ่อนแรง ขยับแขนขาได้น้อย หรือไม่ได้เลย ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
  • ปากเบี้ยว มีน้ำลายไหล พูดไม่ชัด ดูดกลืนน้ำและอาหารลำบาก
  • ชาแขนขาข้างที่อัมพาต ไม่รู้สึกเวลาโดนของร้อน หรือของมีคม
  • ข้อไหล่หลวมหลุด ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อรอบหัวไหล่อ่อนแรง
  • กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก ซึ่งอาจพบได้ในระยะต่อมาของการเป็นอัมพาต
  • แขนและมือปวดบวม ซึ่งอาจเกิดจากการไม่เคลื่อนไหวแขนและขา
  • มีปัญหาด้านการกลืน ทำให้มีโอการสำลักอาหารเข้าปอด และเป็นโรคปอดอักเสบตามมาได้

** ปัญหาต่างๆ ควรได้รับการดูแลรักษาฟื้นฟูโดยอาศัยความร่วมมือของแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด นักจิตกรรมบำบัด ทีมผู้รักษา ผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแล เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูได้เต็มที่ ตามความสามารถของผู้ป่วยแต่ละคน

การบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วย

1. ปัญหาแขนและขาอ่อนแรง
ควรทำกายภาพบำบัด เพื่อให้กล้ามเนื้อฟื้นตัวมากขึ้น โดยการจัดท่านอน การบริหารข้อ ฝึกนั่ง ยืน เดิน และขึ้นลงบันได นอกจากนี้ควรฝึการเคลื่อนไหวของมือและแขน ฝึกทำกิจกรรมต่างๆ เช่น รับประทานอาหาร ใส่เสื้อฟ้า และกางเกง อาบน้ำ เป็นต้น

2. ปัญหาด้านการกลืน
ในระยะแรกผู้ป่วยที่ยังดูดกลืนอาหารไม่ได้ ควรใช้สายยางให้อาหารก่อน หลังจากอาการทั่วไปดีขึ้น ควรฝึกกล้ามเนื้อที่ใช้ในการรับประทานอาหาร ฝึกกลืนโดยใช้อาหารดัดแปลง ถ้าแน่ใจแล้วว่าผู้ป่วยสามารถกลืนอาหารได้ปลอดภัย และเพียงพอ จึงพิจารณาไม่ใช้สายยางให้อาหาร

3. ปัญหาการสื่อสาร
เนื่องจากรอยโรคในสมองซีกซ้าย ควบคุมด้านการพูดการใช้และการรับรู้ภาษา ดังนั้นผู้ป่วยอัมพาตซีกขวาอาจมีปัญหาในการสื่อสารไม่เข้าใจสิ่งที่ได้ฟัง พูดไม่ได้ ใช้คำผิด ผู้ป่วยควรได้รับการฝึกเพื่อให้สื่อสารได้มากที่สุด

4. ปัญหากล้ามเนื้อเกร็ง
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จะมีอาการเกร็งมากน้อยขึ้นกับพยาธิสภาพของสมอง บางครั้งอาการเกร็งอาจเป็นอุปสรรคในการบำบัดฟื้นฟู และทำให้ข้อต่างๆ ยึดติดได้

แนวทางการรักษามีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ เช่น การกำจัดสิ่งกระตุ้นอาการเกร็ง การออกกำลังเคลื่อนไหวข้อ การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด การใช้กาย อุปกรณ์เสริม การฉีดยาลดเกร็ง เป็นต้น

การจัดท่านอนที่ถูกต้องสำหรับ โรคหลอดเลือดสมอง

ท่านอนหงาย

  • ใช้หมอนใบเล็กไม่ให้ยกศีรษะสูง
  • ลำตัวตรง
  • ใช้หมอนบางๆ หนุนที่หัวไหล่ และต้นแขนข้างที่เป็นอัมพาต
  • นิ้วมือเหยียดออก หรือใช้ผ้าขนหนูม้วนวางในมือ ดังรูป
  • ใช้หมอนบางๆ วางใต้สะโพกข้างที่เป็นอัมพาต
  • ขาเหยียดตรง หรืองอเล็กน้อย 10 องศา
  • ใช้หมอนกันปลายเท้าตก ดังรูป (ถ้าวางแล้วขากระตุก เกร็งมากขึ้น ไม่ควรใช้)
  • นอนตะแคงเต็มตัว
  • ศีรษะแนวเดียวกับลำตัว หรือโน้มไปข้างหน้าเล็กน้อย
  • ลำตัวตรง
  • แขนข้างที่เป็นอัมพาตวางบนหมอน และงุ้มไปข้างหน้าเล็กน้อย
  • มือวางบนหมอน นิ้วมือเหยียดออก ใช้ผ้าขนหนูม้วนบางบนมือ
  • ขาและเท้าข้างที่เป็นอัมพาตวางบนหมอน งอสะโพกและเข่าเล็กน้อย

ท่านอนตะแคงทับข้างที่เป็นอัมพาต

  • นอนตะแคงตัว
  • ศีรษะอยู่แนวเดียวกับลำตัว หรือโน้มไปข้างหน้าเล็กน้อย
  • ลำตัวตรง
  • จัดไหล่ข้างที่เป็นอัมพาตห่อมาข้างหน้า แขนตรง มือหงาย
  • สะโพกข้างที่เป็นอัมพาตเหยียดตรง และเข่างอเล็กน้อย
  • ขาข้างที่ดีวางบนหมอน งอสะโพกและเข่าเล็กน้อย

* ขอบคุณบทความจาก : http://health.mthai.com/knowledge/3203.html