Make Appointment

ประจำเดือนผิดปกติ สิ่งแจ้งเตือนที่คุณละเลย

04 Dec 2016 เปิดอ่าน 1740

เรื่องนี้เกี่ยวกับคุณผู้หญิงโดยเฉพาะ แต่หากหนุ่มๆจะอ่านแล้วบอกต่อคนที่คุณรัก เธอคงจะเป็นปลื้ม ที่คุณใส่ใจถึงสุขภาพส่วนตัวของเธอ

ประจำเดือน หรือ ระดู หรือที่รู้จักกันทั่วไปในคำที่เรียกทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ และละตินว่า เมนส์ (Mens) คือ เลือดและเนื้อเยื่อที่ออกจากช่องคลอดทุก 24-35 วันนานประมาณ 3-6 วัน ซึ่งการสังเกตประจำเดือนนี่แหละสามารถบอกถึงสุขภาพโดยรวมของคุณได้คร่าวๆ

หญิงที่มีประจำเดือนปริมาณมาก อาจเกิดจากความผิดปกติทางฮอร์โมน การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ หรืออาจมีเนื้องอกในโพรงมดลูก

หญิงที่มีประจำเดือนปริมาณน้อย อาจเกิดจากฮอร์โมนที่ผิดปกติ แต่ในผู้ป่วยที่เกิดอาการนี้หลังการติดเชื้อ หรือเคยได้รับการขูดมดลูก อาจเป็นเพราะมีพังผืดในโพรงมดลูก

หญิงที่มีประจำเดือนกะปริดกะปรอย หากเป็นในช่วง2 สัปดาห์หลังมีประจำเดือน และมีเลือดออกไม่มาก อยู่ 2-3 วัน อาจเป็นเลือดจากฮอร์โมนปกติที่เปลี่ยนแปลงหลังไข่ตก แต่หากมีเลือดออกอยู่หลายวัน อาจเกิดจากความผิดปกติทางฮอร์โมน
มีติ่งเนื้อในโพรงมดลูก ติ่งเนื้อที่ปากมดลูก มดลูกอักเสบหรือ มะเร็ง

หญิงที่มีประจำเดือนเว้นช่วงห่าง คือมีรอบประจำเดือนห่างกันมากกว่า 35 วัน และในผู้ป่วยบางรายอาจมีเลือดประจำเดือน
ออกมากเป็นบางเดือนสลับกับเลือดออกกะปริดกะปรอย เหล่านี้อาจเกิดจากภาวะเครียด หรือฮอร์โมนที่ผิดปกติ ซึ่งผลกระทบต่อสุขภาพขึ้นอยู่กับชนิดของฮอร์โมนที่ผิดปกติ เช่น หากเกิดจากภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง จะทำให้มีขนดก ผิวมัน มีบุตรยาก และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก หลอดเลือดหัวใจ ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยจึงควรหาสาเหตุและรักษา พร้อมทั้งตรวจติดตามโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว หากรับประทานยาคุมกำเนิด หรือ ฉีดยาคุมกำเนิด บางคนอาจมีเลือดออกกะปริดกะปรอยได้อันเป็นผลข้างเคียงจากยา แต่หากไม่ได้คุมกำเนิดแล้วมีเลือดออกผิดปกติ อาจมีสาเหตุจากการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติได้ จึงควรมาพบแพทย์โดยเร็ว

การเริ่มต้นตรวจสุขภาพด้วยตัวคุณเอง คือการสังเกตลักษณะประจำเดือนและหากพบว่า ประจำเดือนผิดปกติ หรือมีเลือดออกกะปริดกะปรอยอยู่นานหลายวัน ก็ควรปรึกษาสูติ-นรีแพทย์เพื่อการค้นหา ป้องกัน และรักษาโรคแต่เนิ่นๆ โดยผู้ป่วยควร
จดบันทึกลักษณะประจำเดือน จำนวนวัน และระยะห่างของประจำเดือนเพื่อให้แพทย์ได้ข้อมูลสำหรับการวินิจฉัยโรค
มากที่สุด.........แต่ สำหรับสาวๆ ที่คิดว่าการมาพบสูติ-นรีแพทย์หมายถึงการตรวจภายในด้วยนั้น ขอยืนยันว่า ไม่จำเป็นต้อง
ตรวจในผู้ป่วยทุกรายนะคะ ดังนั้นสาวๆ สามารถมาขอคำปรึกษาได้เลยค่ะ

 

* ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.naewna.com/lady/columnist/14388