อาการปวดประจ าเดือน(Dysmenorrhea) [1] คือ ผู้หญิงในช่วงก่อน-หลังที่มีรอบเดือน หรือในระหว่างที่มี รอบเดือน จะมีอาการปวดบริเวณท้องน้อยไปจนถึงบริเวณเอว หรือหากมีอาการปวดรุนแรงมากอาจท าให้ปวด 2 ไปถึงบริเวณอุ้งเชิงกรานได้ อาการจะเกิดขึ ้นตามการเกิดรอบเดือนของทุกเดือน ในผู้ป่ วยบางรายที่เป็นหนัก หรือรุนแรงอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เหงื่อออก ตัวเย็น มือเท้าเย็นและอาจถึงขั ้นหมดสติได้ จึงอาจส่งผล กระทบต่อการท างานและการด าเนินชีวิตประจ าวันได้ในทางคลินิกภาวะปวดประจ าเดือนสามารถแบ่ง ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ภาวะปวดประจ าเดือนแบบปฐมภูมิและแบบทุติยภูมิซึ่งชนิดปฐมภูมิจะไม่พบความ ผิดปกติทางกายวิภาคหรือพยาธิสภาพใดๆของมดลูกหรือรังไข่ มักพบในหญิงช่วงวัยเจริญพันธุ์ซึ่งมีsecond characteristic แล้วมักมีอาการหลังจากที่มีประจ าเดือนครั ้งแรกหรือเกิดขึ ้นภายใน1-3 ปีหลังมีประจ าเดือน ครั ้งแรก จะมีอาการมากที่สุดในช่วง 15-25 ปีและมักหายขาดภายหลังจากมีบุตรแล้วชนิดทุติยภูมิมักพบ ความผิดปกติที่มดลูกหรือรังไข่ เช่น เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่,เนื ้องอกในมดลูก,ปีกมดลูกอักเสบเรื ้อรังเป็นต้น มัก พบในช่วงอายุมากกว่า 25 ปีขึ ้นไป โดยที่ผ่านมาอาจไม่เคยมีอาการปวดมาก่อน ในทางการแพทย์แผนจีนเรียกภาวะปวดประจ าเดือนหรือปวดท้องประจ าเดือนนี ้ว่า “จิงสิงฟู่ ท้ง (经行 腹痛)” หวงเม่ยเจิน[2] เชื่อว่าอาการปวดประจ าเดือนในช่วงวัยรุ่นมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากอารมณ์ ความเครียด จึงท าให้การท างานของตับ (การระบายลมปราณหรือท าให้ลมปราณไหลเวียนคล่อง) มีการติดขัดหรือถูกอุดกั ้น เมื่อลมปราณติดขัดส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้ไม่คล่องหรือสะดวกจึงเกิดเลือดคั่งขึ ้น เมื่อ ลมปราณติดขัดและเลือดคั่งอยู่ที่มดลูกจึงท าให้เลือดและลมปราณไหลเวียนไม่คล่องหรือสะดวกจึงเกิดอาการ ปวดขึ ้น สาเหตุที่ท าให้เกิดภาวะปวดประจ าเดือนส่วนใหญ่จัดอยู่ในภาวะแกร่ง ส่วนภาวะพร่องมีน้อย ปัจจุบันในทางคลินิกสามารถแบ่งอาการปวดประจ าเดือนได้2แบบ คือ แบบปฐมภูมิและแบบทุติยภูมิ อาการปวดประจ าเดือนแบบปฐมภูมิ ส่วนใหญ่อวัยวะที่เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ไม่ได้มีพยาธิสภาพ สามารถ เรียกอีกอย่างว่า อาการปวดประจ าเดือนที่เกิดจากการท างานของอวัยวะบกพร่อง(功能性痛经) มักพบใน ผู้หญิงหลังจากเริ่มมีประจ าเดือนมาครั ้งแรกมาแล้วนาน 1-2 ปี โดยทั่วไปอาการปวดจะเกิดก่อนมีประจ าเดือน เพียงไม่กี่ชั่วโมงหรืออยู่ในช่วง 48-72ชั่วโมง และมักจะเป็นอาการปวดแบบหดเกร็งๆ อาการปวดประจ าเดือน แบบนี ้โดยทั่วไปมักจะหายไปหรือลดลงหลังจากมีลูกหรือคลอดลูกแล้ว ส่วนอาการปวดประจ าเดือนแบบทุติย ภูมิ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากอวัยวะที่เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์เกิดพยาธิสภาพหรือความผิดปกติ เช่น ภาวะ เนื ้อเยื่อมดลูกเจริญขึ ้นผิดที่ , ช่องคลอดอักเสบหรือมะเร็ง เป็นต้น
สาเหตุและกลไกการเกิดโรค ในทางแพทย์แผนปัจจุบัน[1] เข้าใจว่า สาเหตุหลักของภาวะปวดประจ าเดือนเกิดจากไข่ที่สุกตกออกมา จากรังไข่แล้วไม่ได้รับการผสมกับอสุจิเยื่อบุโพรงมดลูกเกิดการฝ่ อตัวสลายเป็นประจ าเดือนพร้อมกับหลั่งสาร พรอสตาแกลนดิน (prostaglandin) ท าให้มดลูกเกิดการบีบรัดตัว แล้วขับประจ าเดือนออกมา หากสารนี ้ถูก หลั่งออกมามากกว่าปกติ จะท าให้กล้ามเนื ้อมดลูกเกิดการบีบรัดตัวอย่างรุนแรงและเพิ่มความไวในการรับรู้ของตัวรับความรู้สึกเจ็บปวดภายในอุ้งเชิงกรานจนอาการปวดประจ าเดือนจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ ้น แต่กรณีที่ ไข่สุกตกออกมาจากรังไข่และได้รับการปฏิสนธิจนเกิดการตั ้งครรภ์เมื่อตัวอ่อนมาฝังตัวที่บริเวณมดลูก แล้วเยื่อ บุโพรงมดลูกจะระงับการหลั่งสารนี ้ดังนั ้นในช่วงตั ้งครรภ์ สตรีจึงไม่มีอาการปวดประจ าเดือน ส าหรับอาการ ปวด ประจ าเดือนชนิดทุติยภูมิ จะมีอาการปวดประจ าเดือนที่เกิดจากพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกราน โดยพบว่าเยื่อ บุโพรงมดลูกเจริญผิดที่(endometriosis)เป็นสาเหตุของอาการดังกล่าวมากที่สุด โดยเฉพาะในสตรีที่มีอายุ ระหว่าง 25-29 ปี สาเหตุรองลงมา เช่น เนื ้องอกในโพรงมดลูก(submucousmyoma), การใส่ห่วงคุมก าเนิด (intrauterine device) และการมีพังผืดในอุ้งเชิงกราน(pelvic adhesion)เป็นต้น ในทางการแพทย์แผนจีน[3] กล่าวถึงอาการปวดประจ าเดือนว่าต าแหน่งที่เกิดพยาธิสภาพอยู่ที่มดลูก และกลไกที่ท าให้เกิดภาวะปวดประจ าเดือน คือ การไหลเวียนของลมปราณและเลือดที่ผิดปกติ สามารถแบ่ง ภาวะตามกลไกการเกิดพยาธิสภาพ ได้แก่ 1.ภาวะแกร่ง(实证) กลไกของภาวะแกร่ง(实证) คือ ติดขัดท าให้ ปวด“不通则痛” ซึ่งสามารถจ าแนกได้เป็นภาวะลมปราณติดขัดเลือดคั่ง(气滞血瘀证), ความเย็น ความชื ้นอุดกลั ้น(寒湿凝滞证) และความร้อนชื ้นอุดกลั ้น(湿热阻滞证) 2.ภาวะพร่อง(虚证) คือ ขาด การหล่อเลี ้ยงท าให้ปวด“不荣则痛” ซึ่งสามารถจ าแนกได้เป็น ภาวะลมปราณไตไม่เพียงพอ(肾气不足 证) และภาวะลมปราณและเลือดพร่อง(气血亏虚证)
หลักการรักษาทางแพทย์แผนจีน[5] อาการปวดประจ าเดือนทางแพทย์แผนจีนสามารถแบ่งออกเป็นได้หลายภาวะดังนี ้ภาวะแกร่ง พร่อง ร้อน เย็น ไปจนถึงภาวะลมปราณติดขัดและเลือดคั่ง เลือดจากประจ าเดือนถูกเปลี่ยนแปลงมาจากลมปราณ และเลือดภายในร่างกาย ซึ่งทางแพทย์แผนจีนเชื่อว่าเลือดจะไหลเวียนได้ต้องมีลมปราณ ถ้ามีลมปราณก็ย่อม มีเลือด หากลมปราณไหลเวียนคล่องหรือไหลเวียนสะดวกเลือดก็จะสามารถไหลเวียนได้คล่องหรือไหลเวียน สะดวกเช่นกัน ดังนั ้นการรักษาอาการปวดประจ าเดือนจึงจ าเป็นต้องท าให้เลือดและลมปราณไหลเวียนคล่อง และไหลเวียนได้สะดวก จึงจะสามารถท าให้อาการปวดหายไปได
CREDIT : งานวิจัยการศึกษาประสิทธิภาพของการฝังเข็มต่อการรักษา ภาวะปวดประจ าเดือน(针灸治疗各型痛经)
คณะการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปี การศึกษา 2560