Make Appointment

มารู้จักโรคเอ็มเอสกันดีกว่า

21 Sep 2016 เปิดอ่าน 2449

ว่าคนที่เป็นมีอาการอย่างไร ใครบ้างที่เป็นและเมื่อเป็นแล้วจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ผศ.นพ. สุพจน์ ตุลยาเดชานนท์ หัวหน้าหน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


อธิบายว่า โรคเอ็มเอส หรือ Multiple Sclerosis เป็นโรคของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วย สมอง ไขสันหลังและเส้นประสาทตา โรคนี้พบมากในคนอายุน้อย วัยหนุ่มสาวหรือวัยทำงาน โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่เชื่อว่าน่าจะเป็นผลเกี่ยวข้องกับการทำลายส่วนของระบบประสาท
จากภูมิต้านทานของตัวเอง โดยที่ในผู้ป่วยบางรายพบว่า มีอาการของโรครุนแรงขึ้นหลังจากติดเชื้อไวรัส จึงมีสมมุติฐานที่ว่า ในผู้ป่วยกลุ่มนี้แทนที่ภูมิต้านทานจะไปเล่นงานเชื้อโรคอย่างเดียว กลับไปทำลายปลอกหุ้มเส้นประสาทของตัวเองด้วย


ลักษณะของการเกิดโรคเอ็มเอส
เริ่มจากมีการอักเสบและมีการทำลายปลอกหุ้มเส้นประสาทถ้าเป็นรุนแรง เส้นประสาทอาจถูกทำลายไปด้วยในระยะเริ่มต้นส่วนมากคนไข้จะมีอาการเป็น ๆ หาย ๆโดยกลับมาเป็นซ้ำอีกในตำแหน่งที่ต่างกัน เช่น บางคนเป็นครั้งแรกที่ตา ต่อมาเป็นที่ไขสันหลังต่อมาเป็นที่เนื้อสมอง ในผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังหลังจากเกิดโรคเอ็มเอส แต่ละครั้งประสิทธิภาพการนำสัญญาณของเส้นประสาทจะลดลงโดยจะสะสมความพิการและความบกพร่องเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
อาการของโรคเอ็มเอสจะหลากหลายมากขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดรอยโรค เช่น เกิดที่เส้นประสาทตา การมองเห็นของคนไข้อาจผิดปกติ แย่ลง ถ้าเป็นที่ไขสันหลังหรือสมอง อาจมองเห็นเป็นภาพซ้อนมีอาการชาครึ่งตัว แขนขาอ่อนแรง หรือปัสสาวะไม่ออก ขึ้นอยู่กับว่าเกิดที่สมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมส่วนไหนของร่างกายถ้าเป็นที่สมองส่วนกลางที่ควบคุมการทรงตัวคนไข้อาจมีอาการหัวหมุน หรือวิงเวียนศีรษะได้แต่มักมีอาการอื่นร่วมด้วย ในการวินิจฉัยโรคนี้ กรณีที่คนไข้มีอาการอย่างหนึ่งอย่างใดและมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด หากสงสัยว่าเป็นโรคเอ็มเอสอาจตรวจหาความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางด้วยเครื่องสร้างภาพสมองด้วยสนามแม่เหล็กแรงสูง
หรือเอ็มอาร์ไอ หรือการตรวจวิเคราะห์น้ำไขสันหลังเมื่อวินิจฉัยว่าคนไข้เป็นโรคเอ็มเอส


วิธีการรักษาส่วนใหญ่ คือ
การให้ยาสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบและคอยระวังไม่ให้มีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้น ภายหลังการรักษาถ้าคนไข้หายดีก็แล้วไป แต่ถ้ายังหายไม่เป็นปกติอาจต้องทำกายภาพบำบัดเพิ่มเติม
เนื่องจากโรคนี้รักษาไม่หายขาด คนที่เคยเป็นแล้วอาจกลับมาเป็นซ้ำอีกได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันการเป็นซ้ำและลดความรุนแรงของโรค คนไข้ควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการซ้ำ เช่น ถ้ารู้ว่าไวรัสอาจเป็นต้นเหตุทำให้อาการกำเริบก็ต้องป้องกันตัวเองไม่ให้เป็นหวัด โดยควรหลีกเลี่ยงเข้าไปในสถานที่ที่อาจทำให้ติดหวัดขณะเดียวกันคนไข้อาจได้รับการฉีดยาปรับภูมิคุ้มกันแต่เนื่องจากปัจจุบันยาดังกล่าวยังมีราคาแพงและมีผลลดหรือชะลอการเกิดซ้ำ ดังนั้น การฉีดยาเพื่อหวังผลที่จะลดความรุนแรงของโรคในระยะยาว แพทย์คงจะต้องอธิบายกับผู้ป่วย และพิจารณาในคนไข้เป็นราย ๆ ไป.

โดย : ผศ.นพ. สุพจน์ ตุลยาเดชานนท์

* ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=poungchompoo&date=09-04-2014&group=44&gblog=10