ศ.นพ.ภานุพันธ์ ทรงเจริญ ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และ
กายภาพบำบัด ให้ข้อมูลว่าเป็นปัญหาที่พบบ่อยในวัยกลางคน โดยมากเกิด
กับเพศหญิงมากกว่าชาย กลุ่มที่พบได้แก่ แม่ครัว ช่างทำผม แม่บ้าน
ทำความสะอาด คนทำงานออฟฟิศที่ต้องรับโทรศัพท์ หรือใช้คอมพิวเตอร์
นาน ๆ และกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หญิงตั้งครรภ์
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีข้อต่อกระดูกเสื่อม การขาดวิตามินบีก็
เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดมือชาได้...ซึ่งการรักษา และการป้องกันสามารถทำได้ค่ะ
อาการ...จะเริ่มชาที่ฝ่ามือและนิ้วมือ ในขณะที่ใช้มือทำงานอย่างต่อเนื่อง
และถ้าเป็นมากอาจมีอาการชาจนเป็นเหน็บในขณะที่ไม่ได้ใช้งาน
และมีอาการปวดตอนกลางคืนจนต้องตื่นมากลางดึกเพื่อขยับมือ หรือบีบนวด
ฝ่ามือ ถ้าปล่อยไว้นานจะมีการอ่อนกำลัง หยิบจับสิ่งของแล้วร่วงหล่น จนถึง
ขั้นมีการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อมือในที่สุด
สาเหตุของมือชา...ส่วนมากเกิดจากการหนาตัวของเอ็นยึดกระดูก
บริเวณข้อมือ หรือที่บริเวณอุโมงค์ข้อมือ เอ็นนี้จะไปกดรัดเส้นประสาทที่ไป
เลี้ยงกล้ามเนื้อฝ่ามือ และเส้นประสาทที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกที่ฝ่ามือ การ
เคลื่อนไหวของข้อมือมาก ๆ ทำให้เกิดการระคายมากขึ้น
การดูแลป้องกัน...เริ่มจากลดการใช้งานข้อมือที่ทำงานหนัก ๆ ปรับ
ท่าทางการทำงานของมือให้เหมาะสม ระหว่างการทำงานข้อมือจะต้องไม่งอ
มากจนเกินไป ใช้อุปกรณ์ช่วยประคองข้อมือสำหรับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์
เพื่อให้ข้อมือมีที่พัก เม้าส์ที่ใช้ต้องมีขนาดไม่เล็กจนเกินไป เพราะจะทำให้
ข้อมือเกร็งมากขึ้น
การรักษา...ถ้าผู้ป่วยอาการไม่รุนแรงจะให้ยาต้านการอักเสบของเส้น
เอ็น และเส้นประสาท การให้วิตามินบี จนถึงขั้นสุดท้ายคือ การผ่าตัดเอ็นที่
ไปกดรัดเส้นประสาท ฉะนั้นการดูแล ป้องกัน และถนอมข้อมือ เพื่อให้ใช้
งานนาน ๆ เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ การใช้งานข้อมือที่ผิดท่า ผิดวิธี อาจนำมาซึ่ง
การรักษาที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
* ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.kumsamunpai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539543892&Ntype=8