Make Appointment

หมอนรองกระดูกทับเส้น คืออะไร?

03 Aug 2016 เปิดอ่าน 2609

หมอนรองกระดูกทับเส้นคืออะไร หลายคนคงเคยสงสัย มีเพื่อนๆปวดหลังเป็นๆหายๆ ไปหาหมอมา แล้วบอกว่าเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้น ฟังดูน่ากลัวมาก!

.
กระดูกสันหลังของคนเรา จะมีลักษณะเป็นปล้องๆเรียงกันเป็นแท่ง แต่ถ้าเป็นแท่งตรงๆแข็งๆคงทำให้เคลื่อนไหวได้ไม่สะดวก และทำให้เดินทื่อเป็นท่อนไม้ เพื่อให้ลำตัวของเราสามารถยืดหยุ่น ขยับงอโค้งได้ ร่างกายคนเราจึงสร้างให้มีการเชื่อมระหว่างรอยต่อกระดูกสันหลังด้วยวัสดุอ่อนหยุ่น ก็คือหมอนรองกระดูกนั่นเอง
.
หมอนรองกระดูกจะมีขอบเป็นเอ็นแข็งพอควร ตรงกลางเป็นเจลใสหยุ่นๆ มีหน้าที่คอยรับน้ำหนัก และรับแรงกระแทก แต่บางครั้งเมื่อมีแรงกระทำที่รุนแรงมาก ก็อาจทำให้มีการฉีกขาดของขอบหมอนรองกระดูก ทำให้เจลหยุ่นๆนี้ถูกบีบหลุดออกมากดทับเส้นประสาทที่ออกมาจากช่องด้านหลังกระดูกสันหลังใกล้ๆกับมันได้ โดยมักเกิดเหตุการณ์นี้ที่กระดูกสันหลังส่วนเอว เนื่องจากเป็นจุดที่เคลื่อนไหวมาก และรับน้ำหนักมากครับ
.
เมื่อมีการกดทับเส้นประสาทส่วนเอว จะทำให้เกิดอาการปวด และอาจมีอาการชาร่วมด้วย ร้าวลงมาที่ขา เนื่องจากเส้นประสาทบริเวณนี้จะทอดยาวไปเลี้ยงขา ถ้ามีการกดทับมากๆ อาจถึงกับมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง จนถึงขั้นลุกยืนเดินไม่ได้
.
สาเหตุนั้นเกิดได้จากหลายอย่าง ที่ทำให้เกิดแรงดันในหมอนรองกระดูกมากๆอย่างเฉียบพลัน เช่น หกล้มก้นกระแทกพื้น, ยกของหนัก, ก้มเงยผิดท่า เป็นต้น
--------------------------------------------
อย่างไรก็ตาม!!! อาการปวดเอว ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากหมอนรองกระดูกทับเส้นครับ แต่กว่า 80% นั้นเกิดจากกล้ามเนื้อหลังส่วนเอวจากการนั่งทำงานต่างหาก ดังนั้นเมื่อเกิดอาการปวดหลังหรือเอวแล้ว ทางที่ดีควรจะรีบหาสาเหตุ หากพบว่าเรานั่งทำงานผิดท่าอยู่ ก็ควรรีบปรับเปลี่ยน หรือถ้ามีอาการปวดหรือชาร้าวลงขา ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยแยกโรคว่าเป็นจากหมอนรองกระดูกทับเส้นนี้รึเปล่า
.
แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ต้องตกใจเกินไปครับ เพราะแม้จะเป็นโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท การรักษาก็มักจะไม่ใช่การผ่าตัดตั้งแต่แรก แต่มักจะเริ่มต้นการรักษาแบบประคับประคองไปก่อน คือกินยาลดการอักเสบ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด เช่น อัลตร้าซาวด์, กระตุ้นไฟฟ้า, ประคบร้อน หรืออาจใช้การรักษาทางแพทย์แผนไทยประยุกต์ ส่วนมากมักจะดีขึ้น ถ้ารักษาแบบประคับประคองไปแล้วไม่ดีขึ้น จึงค่อยพิจารณารักษาในขั้นถัดไป เช่น ตรวจ MRI เพื่อดูว่าการกดทับนั้นอธิบายอาการปวดได้หรือไม่ แล้วก็อาจจะ ฉีดยา หรือ พิจารณาผ่าตัด ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ให้ความรู้ และให้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจแก่ท่านครับ
-------------------------------------------
เพื่อไม่ให้พลาดบทความดีๆ มีประโยชน์ต่อสุขภาพกายและใจ โปรดกด Like และ Get notification เอาไว้นะครับ

Orange Clinic - 25th Floor, Empire Tower

บทความก่อนๆ

1. ออฟฟิศ ซินโดรม คืออะไร?!?
https://www.facebook.com/OrangeClinicTH/photos/a.209524022729045.1073741828.184642101883904/209533802728067/?type=3&theater

2. ปวดคอ ปวดบ่า เป็นๆหายๆ นี่ฉันเป็นอะไร?!?
https://www.facebook.com/OrangeClinicTH/posts/222911401390307:0

3.ปวดหัวข้างเดียว เป็น”ไมเกรน”จริงหรือ???
https://www.facebook.com/OrangeClinicTH/photos/a.209524022729045.1073741828.184642101883904/227298637618250/?type=3&theater