Make Appointment

อาการปวดหลัง [Low back pain]

30 Dec 2016 เปิดอ่าน 4447

หลังของเราประกอบไปด้วยกระดูกสันหลังทั้งหมด 24 ชิ้น!!! 
ส่วนที่เคลื่อนไหวได้มากที่สุดคือ เอว(lumbar) 
และเ ป็นส่วนที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้มากที่สุด 
 

หลังของเราประกอบไปด้วยกระดูกสันหลังทั้งหมด 24 ชิ้น ที่เรียกว่า  vertebrae  วางซ้อนกัน

 

ตั้งแต่กระดูกสะโพกถึงกะโหลกศีรษะ  ระหว่างกระดูกแต่ละชิ้นจะเนื้อนุ่มเหมือนฟองน้ำขั้นกลางเรียกหมอนรองกระดูกซึ่งจะรับแรงกระแทกของกระดูกและเพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวกระดูกสันหลังทำหน้าที่เป็นแกนกลางของร่างกายกระดูกจะถูกยึดติดเป็นแนวโดยอาศัยกล้ามเนื้อและเอ็น การหดเกร็งกล้ามเนื้อหลังจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวหน้าอีกอย่างหนึ่งของกระดูกสันหลังคือ เป็นทางผ่านของ ประสาทไขสันหลัง spinal cord วิ่งเริ่มต้นจากสมองในกะโหลกช่องกระดุกสันหลัง และ มีเส้นประสาท spinal nerve ออกบริเวณ ข้อต่อของกระดูกไปเลี้ยงยังอวัยวะต่างๆ 


สาเหตุของอาการปวดหลัง

- การนั่งผิดท่าเช่น การนั่งหลังโก่ง นั่งบิดๆ 
- นั่งขับรถหลังโก่ง 
- การยืนที่ผิดท่า 
- การยกของผิดท่า 
- การนอนบนที่นอนที่นุ่มหรือแข็งเกินไป 
- ร่างกายไม่แข็งแรง 
- ทำงานมากไป

การป้องกันโรคปวดหลัง

1. บริหารร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหลัง เพราะเราไม่เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง การออกกำลังจะต้องค่อยสร้างความแข็งแรงทั้งกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลัง และจะต้องให้ข้อมีการเคลื่อนไหวได้ดีไม่มีข้อติด การออกกำลังอาจจะทำได้โดยการเดิน การขี่จักรยาน การว่ายน้ำจะทำให้หลังแข็งแรง 

2. รักษาน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมไม่ให้อ้วนโดยการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ออกกำลังแบบaerobic เช่นการวิ่ง ขี่จักรยาน 

3. การนั่งหรือยืนให้ถูกท่า เพราะการนั่งหรือการยืนที่ผิดท่าจะทำให้เกิดอาการปวดหลัง 

 

 

ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคปวดหลัง

1. หลีกเลี่ยงจากการงอเอว ให้งอข้อสะโพกและเข่าร่วมด้วย 

2. หลีกเลี่ยงจากการยกของหนักโดยเฉพาะที่อยู่เกินเอว 

3. หันหน้าเข้าสิ่งของทุกครั้งที่จะยกของ 

4. ถือของหนักชิดตัว 

5. ไม่ยกหรือพลักของที่หนักเกินตัว 

6. หลีกเลี่ยงการยกของที่มีน้ำหนักไม่เท่ากัน 

7. หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว 

8. เปลี่ยนท่าบ่อยๆ 

9. การถูพื้น ดูดฝุ่น การขุดดิน ควรจะถือเครื่องมือไว้ใกล้ตัว ไม่ก้าวยาวๆหรือเอื้อมมือหยิบของ 

10. ให้นั่งสวมถุงเท้า รองเท้า ไม่ยืนเท้าข้างเดียวสวมรองเท้าหรือถุงเท้า 

11. ใช้รองเท้าส้นเตี้ย 

12. หลีกเลี่ยงการแอ่นหรืองอหลัง เช่นการแอ่นหลังไปข้างหลังหรือก้มเอานิ้วมือจรดพื้น 

13. เมื่อจะไอหรือจามให้กระชับหลังและงอหัวเข่า 

14. เวลาปูเตียงให้คุกเข่า 


 



การรักษา

เป้าหมายของการรักษาอาการปวดหลัง คือ เพื่อลดอาการปวด และให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติที่สุด โดยการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดการปวดหลังและระยะเวลาที่เป็น ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยมุ่งรักษาที่ต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการและพยายามหาวิธีที่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดน้อยที่สุดก่อน 

โดยทั่วไปการรักษาจะมีอยู่ 2 วิธีหลัก ได้แก่
 

 

 

  • การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด

การรักษาแบบประคับประคอง ได้แก่ การรับประทานยา การทำกายภาพบำบัด และการนอนพัก มักเป็นวิธีที่ใช้เริ่มต้นในการรักษา ยกเว้นกรณีที่ผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้ชัดเจนว่าต้องได้รับการรักษาโดยวิธีอื่น

 

  • การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลัง 

ซึ่งจะช่วยลดความปวดจากการอักเสบและช่วยในการวินิจฉัยตำแหน่งที่เป็นต้นเหตุของอาการปวดได้ การรักษาวิธีนี้ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาแบบประคับประคองแล้ว แต่อาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการปวดจากการที่เส้นประสาทโดนรบกวน

  • การรักษาโดยการผ่าตัด 

แพทย์จะใช้วิธีการรักษานี้เมื่อผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน เช่น ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ขาอ่อนแรง เดินไม่ได้ หรือเมื่อทำการรักษาโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล ซึ่งวิธีการผ่าตัดมีหลายวิธีขึ้นกับภาวะของผู้ป่วยหรือข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด

 

 


" อย่างไรก็ตามการหมั่นดูแลสุขภาพ และออกกำลังกาย 

ยอมทำให้อาการหายไปได้อย่างรวดเร็ว "