Make Appointment

เอ็นข้อไหล่ฉีก เรื่องใหญ่ที่ต้องรีบหาทางออก

14 Jan 2019 เปิดอ่าน 3091

หัวไหล่ คืออวัยวะสําคัญที่หลายคนอาจมองข้าม และเผลอใช้งานอย่างหนักจนหลงลืมไปว่าหัว ไหล่นี้เองเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่เชื่อมต่อแขนกับลําตัว โดยมีกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นพยุงเอาโดยรอบ การใช้งานที่อวัยวะส่วนแขนมากเกินไป เช่น การยกของหนักหรือการหยิบจับสิ่งของแบบ ผิดท่าทาง ยังสามารถส่งผลเสียต่อส่วนต่าง ๆในบริเวณหัวไหล่ได้ โดย พ.ต.อ.นพ.จิรันธนิน รัตนวารินทร์ชัย แพทย์ประจําศูนย์ทางการแพทย์คลินิกโรคกล้ามเนื้อ กระดูก โรงพยาบาล พญาไท 3 ได้ให้ข้อมูลว่า อาการเอ็นข้อไหล่ฉีกขาดมีผลมาจาก 3 สาเหตุใหญ่ ๆ ได้แก่

 

  • ความเสื่อมทางร่างกาย ผู้ป่วยที่อายุล่วงเลยวัยกลางคนมาแล้ว รูปแบบการใช้ชีวิตในอดีต อาจมีการใช้งานในส่วนดังกล่าวหนักเกินปกติ จากที่กลุ่มเส้นเอ็นเคยมีเลือดไหลเวียนตาม ระบบของร่างกาย อายุที่มากขึ้นเป็นผลให้เลือดที่ไหลเวียนลดน้อยลงจนทําให้เส้นเอ็นเกิด เปราะหรือขาดได้ง่าย รวมถึงสาเหตุจากหินปูนที่เกิดขึ้นใต้กระดูกส่วนบนของไหล่ได้มีการ เสียดสีกับเส้นเอ็นจนทําให้เส้นเอ็นเสียหาย

 

  • ใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ในกลุ่มนี้โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นในกลุ่มนักกีฬาหรือกลุ่มผู้ใช้ แรงงาน แม้จะใช้งานอย่างถูกวิธีก็ตาม แต่หากใช้อย่างหักโหมและต่อเนื่อง ไม่หยุดพัก ร่างกายอย่างเพียงพอ ก็อาจสร้างความเสียหายให้กลุ่มเส้นเอ็นบริเวณหัวไหล่ได้

 

  • การออกแรงมากเกินไป แม้ว่าร่างกายจะอยู่ในช่วงหนุ่มสาวและรู้สึกว่ายังมีพละกําลังมากพอ การออกแรงยกของหนักเกินกว่าร่างกายจะรับไหวในบางโอกาส หรือการคว้าสิ่งของที่ตกลง มาอย่างรวดเร็วหรือฝืนกับสรีระร่างกาย ก็ทําให้เกิดผลเสียต่อหัวไหล่ได้โดยตรง ผู้ป่วยที่ประสบปัญหาเส้นเอ็นข้อไหล่ฉีกขาดจะสังเกตได้จากอาการปวดที่หัวไหล่ ข้างดังกล่าวร่วมกับอาการอ่อนแรง ไม่สามารถยกชูแขน กางแขน หรือเคลื่อนไหว แขนได้เหมือนปกติ ในผู้ป่วยบางรายที่เส้นเอ็นฉีกขาดเพียงบางส่วนอาจมีอาการ เจ็บเฉพาะเวลาเคลื่อนไหวหรือนอนทับ

 

ส่วนระดับของการรักษานั้นจะเกิดขึ้นหลังจากการประเมินของแพทย์ที่จะวินิจฉัยด้วยการทดลอง การเคลื่อนไหวตามท่วงท่าต่าง ๆ ควบคู่กับผลการเอ็กซเรย์ ก่อนจะแบ่งระดับการรักษาออก เป็นหลายระดับ ตั้งแต่ให้พักผ่อนการใช้ไหล่และแขนร่วมกับการรับประทานยาลดการอักเสบ การประคบร้อนหรือประคบเย็น ในบางกรณีอาจมีการทํากายภาพบําบัดด้วยการออกกําลังกาย รูปแบบต่าง ๆ

 

หากเป็นระดับที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงและไม่สามารถใช้งานหัวไหล่ได้ แพทย์จะใช้การรักษา ด้วยวิธีผ่าตัด ซึ่งที่โรงพยาบาลพญาไท 3 ยังให้บริการผ่าตัดส่องกล้องเส้นเอ็นข้อไหล่ ที่ช่วย ย่นระยะการผ่าตัดได้อย่างมาก เกิดรอยแผลเป็นน้อย รวมถึงระยะเวลาการพักฟื้นหลังการ ผ่าตัดที่น้อยลงกว่าการผ่าตัดปกติ ให้ผู้ป่วยได้กลับมาดําเนินชีวิตได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย

 

พ.ต.อ.นพ. จิรันธนิน รัตนวารินทร์ชัย

jirantanin.com