มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเป็นมะเร็งที่เกิดที่ลำไส้ส่วนปลายของระบบทางเดินอาหารพบมากเป็นอันดับสามของมะเร็งทุกชนิดและเป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับที่สองที่พบในประเทศไทย
ปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
- การได้รับถ่ายทอดทางพันธุกรรม พ่อ แม่ หรือ ญาติพี่น้องและทายาทสายตรง
- มีประวัติพบเนื้องอก (Polyps) ในลำไส้ หากพบมากมีแนวโน้มเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
- ผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อักเสบเรื้อรัง
- ประวัติการเจ็บป่วยเดิมเช่นเคยเป็นมะเร็งรังไข่ มดลูก , เต้านม มีโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้
- ผู้ที่เป็นเบาหวานมีโอกาสเป็นมะเร็งได้ง่าย
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
- การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
- การรับประทานอาหารเนื้อสัตว์หรือเนื้อแดงที่ผ่านการปรุงด้วยความร้อนนานๆ มากเกินไป
- การรับสารพิษเข้าสู่ร่างกายและมีการตกค้างที่ลำไส้ มักพบสารพิษในอาหารประเภท ปิ้ง ย่าง อาหารหมักดอง สารเคมีจากผักที่ไม่สะอาด
- ผู้ที่มีประวัติดื่มสุราหรือสูบบุหรี่
- ผู้ที่เป็นโรคอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน (มากกว่า 25 หรือมีรอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว)
อาการ
1.ท้องอืด ท้องผูกหรือท้องเสียสลับกับท้องผูก
- มีเลือดปนมาในอุจจาระ
- มีเลือดออกทางทวารหนัก
- 4. อุจจาระมีขนาดเล็กหรือบางลง
- อาการจุกเสียด แน่น หรือปวดท้องบ่อยๆ
- ซีด อ่อนเพลีย น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- อาจคลำได้ก้อนในช่องท้องมักพบด้านขวาตอนล่าง
- ปวดเบ่งบริเวณทวารหนักคล้ายปวดอุจจาระตลอดเวลา
การตรวจหามะเร็งในระยะแรก
- การตรวจหาเลือดในอุจจาระ 2 ครั้งต่อปี
- การเอกซเรย์ลำไส้ใหญ่โดยใส่แป้งเข้าทางทวารหนัก (Barium enema)
- การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ใหญ่ (CT-Colonography)
- การตรวจเลือดระดับโปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างโดยเซลล์มะเร็ง
- การตรวจโดยการส่องกล้องมี 2 ประเภท
ประเภท 1. โลหะ (Sigmoidoscope , Proctoscope) ท่อโลหะกลวงเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ซม. ยาว 25 ซม. ตรวจได้เฉพาะลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย
ประเภท 2 พิเศษ (Colonoscope , Flexible Sigmoidoscope) ท่อขนาดเล็กโค้งงอได้ ที่ปลายกล้องจะมีเลนส์ขยายภาพปลายอีกข้างหนึ่งต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดแสงส่งภาพไปยังจอภาพ มองเห็นภาพการตรวจได้ชัดเจน และตรวจได้ตลอดลำไส้ใหญ่ทั้งหมด
การรักษามะเร็งลำไส้การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่
- การผ่าตัด เป็นวิธีที่ดีที่สุดจากการแพทย์ได้พบว่ามีชิ้นเนื้อในลำไส้ใหญ่จากการตรวจด้วยวิธีส่องกล้องทางทวารหนัก และมีความจำเป็นต้องผ่าตัด
- การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)
- การฉายแสง (รังสีรักษา)
การป้องกันการเกิดมะเร็ง
- การค้นหามะเร็งควรเริ่มทำตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไปในคนปกติ คนที่มีโอกาสเสี่ยงครอบครัวเคยมีประวัติเป็นมะเร็งควรทำการตรวจตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
สรุป
มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่พบบ่อย การตรวจคัดกรองหรือเฝ้าระวังที่ดีและถูกต้องจะช่วยให้ตรวจพบรอยโรครอยโรคได้ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งหรือมะเร็งระยะแรกทำให้สามารถป้องกันหรือให้การรักษาโลกได้อย่างทันท่วงที การส่องกล้องลำไส้ใหญ่เป็นวิธีการตรวจที่ไวและจำเพาะที่สุดเป็นวิธีเดียวที่สามารถรักษาไปพร้อมๆ กันได้
ข้อมูลโดย : นพ.สมชัย สัมพันธ์เวชกุล
* ขอบคุณข้อมูลจาก : http://forum.clipmass.com/board/forum_read.php?id=12025