1. รูปเท้าผิดปกติ ได้แก่ ผู้ที่มีเท้าแบน (flat feet) หรือมีส่วนโค้งของฝ่าเท้าที่มากกว่าปกติ (high arch feet) จะมีความเสี่ยงในการเกิดการอักเสบของพังผืดฝ่าเท้าเพิ่มขึ้น เนื่องจากการรับน้ำหนักที่ไม่เหมาะสม
2. รองเท้าที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การสวมรองเท้าส้นสูงยืน เดินนาน พื้นรองเท้าแข็ง รองเท้าที่มีขนาดไม่พอดี คับเกินไป
3. น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น จากโรคอ้วนหรือการตั้งครรภ์ ก็จะเพิ่มโอกาสการเกิดการอักเสบมากขึ้น
4. ลักษณะการใช้งาน ที่จำเป็นต้องยืนเดินเป็นเวลานาน การเล่นกีฬาที่มีการกระแทกส้นเท้า เช่น นักกีฬาวิ่ง นักเต้นรำ
5. โรคข้ออักเสบเรื้อรัง ในกลุ่มนี้มักมีอาการข้ออักเสบที่อื่นร่วมด้วย เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้อสันหลังอักเสบยึดติด
6. โรคเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่คุมระดับน้ำตาลไม่ดี จะส่งผลให้ความยืดหยุ่นของเส้นเอ็นและพังผืดฝ่าเท้าลดลงเกิดการบาดเจ็บง่าย
โดย พ.ท.พญ.สุดาทิพ ศิริชนะ อายุรแพทย์โรคข้อ และรูมาติซึ่ม
* ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1077673818923988&id=128915193799860