อาการมึนศรีษะ เป็นปัญหาที่เจอบ่อย รายละเอียดจากประวัติและตรวจร่างกายจะช่วยแยกเป็น สี่กลุ่มได้ดังนี้
1. เวียนหัว คือ Vertigo
เป็นความรู้สึกสิ่งรอบตัวหมุน หรือตัวเองหมุน ทั้งที่จริงๆ ไม่มีการหมุน (illusion of movement)
มักมีตากระตุก (nystagmus อาการคลื่นไส้อาเจียน (nausea vomiting) กับ ทรงตัวลำบาก (disequilibrium) ร่วมด้วย
กลุ่มอาการสามอย่างนี้เรียกว่า 'vertigenous syndrome'
สาเหตุ เกิดจาก ความผิดเพี้ยน ณ จุดใดๆ ของสัญญานประสาทจาก vestibular *
vestibular เป็นอวัยวะทรงตัวในหู รับรู้การหมุนของศรีษะ เพื่อให้ตาจับภาพเดิมได้เมื่อหัวหมุน
ศูนย์รวมสัญญาณคือ vestibular neucleus ใน brain stem ก่อนจะกระจายสัญญาณไปจุดอื่นได้แก่
A. ศูนย์รับทราบความรู้สึก vertigo vestibular cortex ซึ่งยังไม่ทราบตำแหน่งชัดเจน
แต่การศึกษาในผู้ป่วยลมชัก น่าจะเป็นแถวๆ temperal lobe
B. ศูนย์ควบคุมการเคลื่อนไหวของตา ส่วนท้าย cerebellum (flocculonodulus) ความผิดปกติทำให้ตากระตุก
C. ศูนย์คลื่นไส้อาเจียนที่ brainstem (Area postrema)
ร่วมกับสัญญานจากลำไส้ จากสมองส่วนรับรู้สารเคมีในเลือด (Chemotrigger zone)
D. ศูนย์ควบคุมการทรงตัว ส่วนกลาง cerebellum (cerebellar vermis)
ร่วมกับสัญญานประสาทเท้า, สัญญานจากการมองเห็น
ดังนั้น ความผิดปกติที่เกิดก่อนสัญญานกระจาย คือตั้งแต่หูจนถึง vestibular neucleus อาการ vertigenous syndrome
ไปด้วยกัน เช่น ถ้ามี vertigo รุนแรง จะมี nystagmus ชัด, nausea vomiting เยอะ disequlibrium เยอะ
หากไม่ไปด้วยกันเช่น vertigo มาก แต่ disequlibrium มากจึงต้องระวังรอยโรคที่ cerebellum
หรือ vertigo เล็กน้อย แต่ nausea vomiting มาก ต้องระวังรอยโรคที่ area postrema เป็นต้น
ตัวอย่างการตรวจร่างกาย คือทดสอบการทำงานของ vestibular ด้วย "Head Impulse Test"
2.หน้ามืด คือ Light-headed หรือ Presyncope
เป็นความรู้สึกหวิว คล้ายจะเป็นลม อาจมีอาการใจสั่น เหงื่อออก ร่วมด้วย
สาเหตุ เกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอชั่วขณะ
เส้นทาง อาจคิดแบ่งเป็นสามส่วนคือ pump (หัวใจ) pipe (เส้นเลือดดำขยาย หรือเส้นเลือดแดงหด) และ plasma (ปริมาณเลือด)
ตัวอย่างการตรวจร่างกาย ดูความดันท่านอน ท่ายืน ว่ามี orthostatic hypotension หรือไม่
3.โคลงเคลง คือ Disequilibrium
เป็นความรู้สึกทรงตัวไม่มั่นคง บางคนบรรยายว่า เหมือนเดินบนน้ำ
สาเหตุ เกิดจาก cerebellum เรียกว่า cerebellar ataxia จุดเด่นคือ เสียงพูดเหมือนคนเมา dysarthria
หรือ ความรู้สึกจากเท้า เรียกว่า sensory ataxia จุดเด่นคือ เมื่อปิดสัญญานการมองเห็นจากตา การทรงตัว
จะแย่งลงชัดเจน ผู้ป่วยอาจให้ประวัติว่าไม่ทรงตัวมากขึ้น ตอนแสงน้อยๆ เช่น เช้าตรู่ พลบค่ำ
ตัวอย่างการตรวจร่างกาย ดูการทรงตัวขณะลืมตาเทียบกับหลับตา (Rhomberg test) ท่าทางการเดิน
4.ไม่เข้ากับอะไรที่กล่าวมา Nonspecific dizziness
ความรู้สึก 'มีนๆ งงๆ ยังไงก็ไม่รู้บอกไม่ถูก' 'มีนคือมีน'
สาเหตุ มักกิดจาก สภาวะทางจิตใจ มีความวิตกกังวลซึมเศร้า
อย่างไรก็ตาม การแจ้งวินิจฉัยแบบ negative diagnosis ว่า 'ไม่เจออะไร' เพราะจะทำให้ผู้ป่วยยิ่งกังวลมากขึ้น
อาจบอกเป็น Positive diagnosis ว่า 'มีความผิดปกติของสารสื่อประสาทสมอง ซึ่งไม่อันตรายถึงชีวิต'
ตัวอย่างการตรวจร่างกาย ลองให้หายใจเร็วๆ เลียนแบบ hyperventilation อาจพบว่าเป็นตัวกระตุ้น
แสดงว่าอาการมึนงงเกิดจาก hyperventilation ในขณะมีความเครียด
###
สรุป : หากสามารถตีความ คำที่คลุมเคลืออย่าง 'เมาหัว' ให้เป็นคำเฉพาะขึ้น การไปต่อก็ไม่ยากนักคะ
อนึ่ง ขอแนะนำบทความทักษะทางคลินิกนี้ ที่ผ่านหลายปีกก็ยังใช้ได้อยู่ไม่ล้าสมัย
ในวารสารหมอชาวบ้าน ที่เขียนโดย ศ.นพ.สันต์ หัตถีรัตน์ คะ