Make Appointment

Palliative care คุณภาพชีวิตที่ปลายทาง

22 Jul 2017 เปิดอ่าน 2348

  • ทำไมต้องมี palliative care
  • ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ palliative care
  • Palliative care ทำอะไรบ้าง
  • ท่านจะเข้าถึงบริการ palliative care ได้อย่างไร

 

  • ทำไมต้องมี palliative care

   ผู้ป่วยในระยะท้าย เวลาที่เหลืออยู่เป็นสิ่งมีค่า แต่ผู้ป่วยจำนวนมากเวลานี้กลับเต็มไปด้วยความเจ็บปวด ทั้งร่างกาย จิตใจ จึงต้องการ ผู้ดูแลใกล้ชิด อุปกรณ์ที่นอกเหนือจากสิทธิประกันสุขภาพในปัจจุบัน ต้องการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่ยากลำบาก จนเป็นวิกฤตของหลายครอบครัว

  ครอบครัวจำนวนน้อยโชคดีที่มีทั้ง ผู้ดูแล ทุนทรัพย์และ องค์ความรู้ บางครอบครัวมีคนดูแลแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์  บางครอบครัวมีทุนทรัพย์แต่ขาดคนดูแล การมีระบบเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวระยะท้าย ที่เรียกว่า palliative care จึงเสมือนเป็นหลักประกันเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุขให้กับทุกคน ว่าในปลายทางที่เป็นบทสรุปชีวิต เราจะได้รับการดูแลทั้งด้านกาย ใจ สังคม เพื่อให้บรรลุสุขภาวะทางจิตวิญญานของผู้จากไป และลดความทุกข์ของผู้ที่ยังอยู่ ที่เรียกว่า ‘อยู่อย่างมีความหมาย จากไปอย่างงดงาม’

 

  • ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Palliative care

   Palliative care มีมากว่า 50 ปีในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น อังกฤษ ออสเตรเลีย อเมริกา สิงคโปร์ แต่ค่อนข้างใหม่สำหรับประเทศไทย ดังนั้นความเข้าใจถึงบทบาทของ palliative care ในระยะแรก จึงอาจคลาดเคลื่อน

  1. Palliative care แปลว่า หมดหวัง เป็นการตัดโอกาสรักษาเพื่อยืดชีวิต.

           แม้ palliative care  จะตั้งเป้าหมายหลักคือคุณภาพชีวิต แต่ไม่เร่งให้เสียชีวิตหรือตัดโอกาสยืดชีวิต เพราะสามารถให้ palliative care ควบคู่ไปกับการรักษาที่เป้าหมายยืดชีวิต นอกจากนี้ยังมีการศึกษาว่า ผู้ที่ได้รับ palliative care ควบคู่ไปกับการรักษาปกติมีชีวิตนานขึ้นด้วย

  1. Palliative care ใช้สำหรับผู้ป่วยมะเร็งเท่านั้น.

          องค์การอนามัยโลก กำหนดว่าา ผู้ป่วย ‘โรคที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิต’’  ควรได้รับ Palliative care นั่นหมายความว่า โรคที่มีการเสื่อมของอวัยวะเข้าขั้นรุนแรง เช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจนติดเตียง. ผู้ป่วยสมองเสื่อมระยะท้าย ผู้ป่วยตับวาย ไตวายระยะท้ายควรได้รับ Palliative care เช่นกัน

 

  • บริการของ Palliative care

 

  1. ให้ความสำคัญกับเวลาที่ผู้ป่วยได้พักผ่อนที่บ้านกับครอบครัว จึงพยายามลดความซับซ้อนในการรับบริการจากหลายคลินิก มาเป็นการดูแลองค์รวมโดยทีม palliative care (one stop service) และมีบริการเยี่ยมรักษาที่บ้าน (Home health care)
  2. บรรเทาอาการเจ็บปวด อาการไม่สุขสบายต่างๆ. ผสมผสานทั้งการใช้ยาโดยแพทย์ พยาบาลที่มีความรู้ palliative medicine และการบำบัดด้วยสหวิชาชีพ
  3. ช่วยให้ข้อมูล เป็นตัวกลางจัดประชุมครอบครัว (family meeting) ในการตัดสินใจร่วมกันถึงแผนการรักษาที่ต้องชั่งน้ำหนักประโยชน์กับคุณภาพชีวิต เช่น การใส่ท่อหายใจ, การใส่สายยางอาหารทางหน้าท้อง เป็นต้น