คำว่า เนื้องอก หมายถึง กลุ่มของเซลล์ที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติ
แบ่งเป็น ชนิดไม่ร้าย (Benign tumor) ชนิดร้าย หรือ มะเร็ง (Malignant tumor หรือ Cancer ) ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว คือ สามารถคุกคามเนื้อเยื่อดีรอบๆข้างเคียง และสามารถแพร่กระจายไปตามหลอดเลือด หรือ ระบบน้ำเหลืองได้
เราแบ่งชนิดเนื้องอกตามเนื้อเยื่อต้นกำเนิดว่ามาจากที่ไหน
เนื้องอกกระดูก แบ่งออกเป็น
* เนื้องอกปฐมภูมิ เนื้อเยื่อต้นกำเนิดมาจากระบบกระดูก และ กล้ามเนื้อ
* เนื้องอกทุติยภูมิ เนื้อเยื่อต้นกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อชนิดอื่น แต่มาเกิดเนื้องอก ในกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น มะเร็งจากอวัยวะต่างแพร่กระจายมาที่กระดูก เช่น มะเร็ง ปอด ต่อมธัยรอยด์ เต้านม ต่อมลูกหมาก เป็นต้น
ภาพแสดงมะเร็งที่กระดูก
อุบัติการณ์หรือสาเหตุการเกิดเนื้องอกกระดูก
การเกิดเนื้องอกกระดูก พบได้น้อย ประมาณ 0.34% ของเนื้องอกในร่างกายทั้งหมด ในจำนวนนี้ 75% เป็นเนื้องอกชนิดปฐมภูมิ
สาเหตุ
๑. กรรมพันธุ์ พบว่า ยีนบางตำแหน่งสามารถถ่ายทอดการเกิดเนื้องอกกระดูกบางชนิดได้
๒. การได้รับผลกระทบทางกายภาพ เช่น สารเคมีก่อมะเร็งบางตัว การได้รับรังสี
๓. ไวรัสก่อมะเร็งบางชนิด ซึ่งอยู่ในระหว่างทำการศึกษาวิจัย
การแบ่งชนิดของเนื้องอกทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ของ องค์การอนามัยโลก แบ่งเป็น
* Bone forming tumor เนื้องอกที่เกิดจากเนื้อเยื่อกระดูก
* Cartilage forming tumor เนื้องอกที่มาจากเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน
* Giant cell tumor เนื้องอกที่มาจาก Giant cell หรือ Osteoclast เป็น cell สลายกระดูก
* Round cell tumor เนื้องอกที่มาจาก cell ไขกระดูก
* Vascular tumor เนื้องอกที่มาจากเนื้อเยื่อหลอดเลือด
* Other connective tissue tumors เนื้องอกที่มาจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันอื่นๆ
* Other tumors ( nervous tissue , Adamantinoma ) จากเนื้อเยื่อประสาท
* Tumor like lesions เช่นพวก cyst ต่างๆ
อาการและสิ่งตรวจพบ
อาการปวดและมีก้อนเป็นอาการหลักที่นำมาพบแพทย์
ต้องดูตำแหน่งที่ปวด และ ตำแหน่งก้อน อาจจะมีประวัติได้รับอุบัติเหตุเล็กน้อย และบวมขึ้นไม่ยุบ อาการปวดไม่สัมพันธ์กับการทำงาน อาจจะมีอาการปวดตอนกลางคืนได้
อาจจะพบว่ากระดูกหักหลังได้รับภยันตรายเพียงเล็กน้อย Pathological fracture
อาการทางอ้อมของระบบอื่นๆที่มีผลมาจากตัวเนื้องอก เช่น ระดับแคลเซียมในเลือดสูง ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการผอมแห้ง น้ำหนักลด อาการไข้
การให้การวินิจฉัย
* ประวัติและตรวจร่างกาย
* การถ่ายภาพ Xray
* การตรวจเลือด
* การตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น Xray computer การทำ scan กระดูกทั้งร่างกาย
* การตรวจคลื่นแม่เหล็ก การฉีดสีหลอดเลือดแดง
* การวินิจฉัยสุดท้าย คือ การตรวจชิ้นเนื้อ เพื่อดูลักษณะของเนื้องอก เพื่อวางแผนการรักษา
การรักษา
การผ่าตัดรักษาเป็นหลักสำคัญ
มีการรักษาเสริม เช่น รังสีรักษา และการให้ยาฆ่ามะเร็ง Chemotherapy
การผ่าตัดจะขึ้นกับลักษณะของเนื้องอก ตำแหน่ง
อาจจะทำแค่ผ่าเอาตัวเนื้องอกออก หรืออาจจะต้องตัดเนื้อดีบางส่วนออก หรือ อาจจะต้องทำการตัดอวัยวะบางส่วนออกไปในรายที่มะเร็งนั้นๆมีความรุนแรงสูง ซึ่งปัจจุบันจะทำน้อยลง
นอก จากนี้ยังมีการผ่าตัดที่ช่วยรักษาแขนขาไว้โดยที่ไม่ต้องตัดออก โดยใช้ โลหะดามกระดูก หรือ ข้อเทียม หรือ ใช้กระดูกจากธนาคารกระดูกมาเสริมกระดูกส่วนที่เป็นเนื้องอกที่ถูกผ่าตัดออกไป
นพ.มนตรี สิริไพบูลย์กิจ
* ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.sapaan.net/forum/health-community/a1xeiiadueaxiadaacadu-eoaeo-iooa-oaco1onaaneoa1xeiiadu/