Make Appointment

เรื่องใกล้ตัวทำให้”หูป่วย”

19 Dec 2016 เปิดอ่าน 1683

“อะไรนะ พูดดังๆ หน่อย ไม่ได้ยิน” ในขณะที่กำลังบอกให้คนอื่นพูดเสียงดังขึ้น ฉันกลับได้ยินแต่เสียงพูดของตัวเองสะท้อนไปมาในหูข้างซ้าย เป็นมาสามวันแล้ว ทีแรกคิดว่าเป็นอาการหูอื้อทั่วไป คงหายได้เอง แต่อาการกลับรุนแรงขึ้น จนตอนนี้หูข้างซ้ายเริ่มได้ยินเสียงน้อยลง

หลังเลิกงานตอนเย็น ฉันจึงตัดสินใจไปหาหมอแผนกโสต ศอ นาสิก ทั้งที่ไม่เคยคิดว่าจะได้มา เพราะเข้าใจว่าโรคเกี่ยวกับหูต้องเกิดกับคนสูงอายุ หรือไม่ก็คนที่มีปัญหามาตั้งแต่เกิดเท่านั้น

แต่เมื่อก้าวเข้าไปในรอพบแพทย์ก็เห็นว่าคนไข้ที่รอคิวอยู่กว่าครึ่งหนึ่งเป็นคนวัยทำงาน ที่สำคัญคือ มีวัยรุ่นปะปนอยู่ด้วย ระหว่ารอเรียกชื่อฉันจึงถือโอกาสพูดคุยกับคนวัยเดียวกันที่นั่งข้างๆ เพื่อฆ่าเวลา บางคนมาด้วยอาการมีเสียงในหูบ้างก็เวียนศีรษะจนบ้านหมุน ฉันสงสัยขึ้นมาทันทีว่า สาเหตุอะไรที่ทำให้คนยุคใหม่เป็นโรคเกี่ยวกับหู

รวมมิตรปัจจัยยอดฮิต

เมื่อพยาบาลเรียกชื่อ ฉันจึงได้เข้าไป พบ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงสุจิตรา ประสานสุข ที่ปรึกษาอาวุโสศูนย์โสตประสาทการได้ยินกรุงเทพฯ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อเล่าถึงอาการหูอื้อ และถามถึงสาเหตุที่ทำให้คนสมัยนี้เป็นโรคเกี่ยวกับหูกันมากขึ้น คุณหมอมีคำอธิบายค่ะ

  1. การดำน้ำ ฉันเล่าว่า “เมื่อสัปดาห์ที่แล้วไปดำน้ำตื้นดูปะการังที่ต่างจังหวัด พอขึ้นจากน้ำก็รู้สึกว่าหูข้างซ้ายอื้อ แต่คิดว่าน้ำเข้าหูนิดหน่อย เดี๋ยวคงหายได้เองแต่พอฟังเพลงก็รู้สึกว่าได้ยินเสียงไม่เท่ากัน ลองปรบมือข้างๆ หูสองข้างก็เลยรู้ว่าหูข้างซ้ายได้ยินน้อยลง และได้ยินเสียงตัวเองในหูตลอด”

เมื่อคุณหมอฟังอาการและตรวจดูลักษณะในหูของฉันเรียบร้อยแล้ว ก็วินิจฉัยได้ว่าเป็นเพียงแค่อาการหูอื้อจาก “ภาวะขี้หูอมน้ำ” เท่านั้น แต่ก็ยังอธิบายถึงผลกระทบอื่นๆ ที่เกิดจากการดำน้ำด้วย

  • สาเหตุก่อโรค

อันดับแรกคือ การดำน้ำทำให้ออกซิเจนและเลือดไปเลี้ยงหูชั้นในน้อยลง ซึ่งในหูชั้นในจะมีอวัยวะเกี่ยวกับการทรงตัวอยู่ เมื่อเลือดหรือออกซิเจนไปเลี้ยงไม่พอ อวัยวะเหล่านั้นก็ทำงานได้น้อยลงหรือไม่ทำงานเลย ก่อให้เกิดอาการเวียนศีรษะจนบ้านหมุน สองคือร่างกายไม่สามารถปรับความดันในหูได้ เพราะ การดำน้ำทำให้ความดันในหูเปลี่ยนแปลง เมื่อความดันภายในช่องหูต่างจากความดันภายนอกจึงรู้สึกหูอื้อและปวดหู

สุดท้ายคือ ขี้หูอมน้ำ ซึ่งปัจจัยนี้เกิดกับคนที่ว่ายน้ำด้วย เพราะขี้หูคนเรามีส่วนประกอบส่วนใหญ่ที่ไม่ละลายน้ำและส่วนน้อยที่ละลายน้ำได้ปะปนกัน เมื่อโดนน้ำจึงทำให้ขี้หูพองตัวในรูหู ทำให้ได้ยินเสียงไม่ชัด และอาจมีอาการคันด้วย ซึ่งตรงกับอาการที่ฉันเป็นตอนนี้คนที่ว่ายน้ำก็อาจมีอาการนี้ด้วยเช่นกัน

  • วิธีป้องกันเบื้องต้น

–     เมื่อรู้ถึงที่มาของโรคแล้ว ฉันจึงสอบถามถึงวิธีป้องกันเบื้องต้น ซึ่งสรุปได้ว่า ผู้ที่ดำน้ำได้จะต้องไม่มีประวัติเป็นภูมิแพ้มาก่อน โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้อากาศและหอบหืด เพราะระบบท่อระบายอากาศในหูชั้นกลางของผู้ที่มีอาการดังกล่าวทำงานไม่ดี หากไปดำน้ำ เยื่อบุผนังท่อระบายอากาศในหูชั้นกลางอาจบวม ส่งผลให้ระบบการปรับความดันในหูไม่ดี

–     ผู้ที่เพิ่งเดินทางโดยเครื่องบินไม่ควรดำน้ำในทันที เพราะหูยังปรับความดันไม่ได้ ควรรอประมาณ 1-2 วัน จึงจะดำน้ำได้

–     ใส่ที่อุดหูสำหรับว่ายน้ำเพื่อป้องกันน้ำเข้าหู และใช้คอตต้อนบัดซับน้ำบริเวณใบหูรอบนอกเท่านั้น หากขึ้นจากน้ำแล้วมีอาการหูอื้อหรือหูดับ (สูญเสียการได้ยินเสียงแบบฉับพลัน) ต้องรับพบแพทย์ทันที ส่วนการรักษาอาการของฉันนั้นไม่ยาก เพียงแค่ดูดเอาขี้หูออกเท่านั้น แต่ก่อนที่จะถึงขั้นตอนนั้น คุณหมอใจดีเปิดโอกาสให้ฉันซักถามข้อข้องใจต่างๆและเล่าถึงปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้คนยุคใหม่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับหูด้วย 

  1. หูฟังเครื่องเล่นเสียงพกพา คุณหมอบอกว่า เดี๋ยวนี้มีคนหูเสื่อมจากการฟังเสียงผ่านหูฟังกันมากขึ้น โดยเฉพระวัยรุ่น ทั้งที่เด็กกลุ่มนี้อาจไม่เคยเข้าผับ แต่ก็ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับการได้ยินกันมาก แต่ก็ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับการได้ยินกันมาก ฟังเพลงผ่านหูฟังเครื่องเล่นเสียง ฟังวันละประมาณ 8 ชั่วโมงได้ ฟังตลอดทั้งเวลาทำงานและฟังก่อนนอน บางคืนหลับคาหูฟังเลยก็มี ที่สำคัญคือ จะเปิดเสียงให้ดังจนสุด เพราะต้องการกลบเสียงภายนอกให้หมด และต้องการมีโลกส่วนตัว “จนตอนนี้เริ่มรู้สึกว่าได้ยินเสียงต่างๆ น้อยลง สังเกตจากเวลาเจ้านายเรียกก็ไม่ค่อยได้ยินพูดคุยกับคนอื่นก็ต้องให้เขาพูดดังๆ แถมตัวเองยังกลายเป็นคนพูดเสียงดังไปโดยปริยาย”
  • สาเหตุก่อโรค

คุณหมอบอกว่า อาการของคุณขวัญฤทัยเป็นอาการข้างเคียงจากการได้ยินเสียงดังเป็นเวลานาน ซึ่งมีสาเหตุได้หลายอย่างดังนี้

เซลล์ประสาทหูและเซลล์ขนในหูถูกทำลาย เพราะการใส่หูฟังเข้าไปในรูหูก่อให้เกิดความดันของคลื่นเสียง ซึ่งจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับแก้วหูโดยตรง และทำลายเซลล์ประสาทหูและเซลล์ขนในหูจึงทำให้สูญเสียการได้ยินบางส่วนหรือถึงขั้นหูดับ

ประสาทรับเสียงเสื่อม เกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในหู ส่งผลให้เกิดเสียงรบกวนในหู เช่น เสียงแมลงหวี่ร้อง เสียงวิทยุจูนผิดคลื่นตลอดเวลาหรืออาจเป็นเสียงอื่นๆ ได้อีกมากมาย

เชื้อโรคในหูฟัง นอกจากหูฟังจะเป็นแหล่งกำเนิดเสียงดังที่เป็นอันตรายแล้ว ยังเป็นแหล่งสะสมเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อโรคอื่นที่ทำให้เกิดโรคในหูมากมาย เช่น หนองในหู หรือเกิดการอักเสบในช่องหูได้

  • วิธีป้องกันเบื้องต้น

–     ควรเปิดเครื่องเล่นเสียงให้มีระดับความดังแค่ครึ่งเดียวของระดับเสียงที่เครื่องมีอยู่

–     ฟังเพลงในเวลาที่เหมาะสมเท่านั้นเพื่อให้หูได้หยุดพักการใช้งานบ้าง

–     ไม่ควรใช้หูฟังร่วมกับคนอื่นเพราะอาจติดเชื้อโรคได้ และควรเปลี่ยนฟองน้ำหูฟังหรือทำความสะอาดเป็นประจำ

  1. โทรศัพท์มือถือ

คุณหมอบอกว่า โทรศัพท์มือถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระบบหูและการได้ยินของคนยุคใหม่เสื่อมมากขึ้น

  • สาเหตุก่อโรค

โดยปกติหูคนเราจะมีเชื้อโรคอยู่บ้าง แต่ก็มีขี้หูและผิวหนังที่ช่วยป้องกันไว้ แต่ก็มีขี้หูและผิวหนังที่ช่วยป้องกันไว้ แต่เมื่อหูได้รับความร้อนจากการใช้โทรศัพท์มือถือประกอบกับการใช้มือเขี่ยหรือเกาจนทำให้ผิวหนังถลอกเท่ากับขาดปราการป้องกันเชื้อโรค จึงทำให้เชื้อโรคเติบโตได้ดีและเกิดอาการอักเสบ เช่น มีวิวในหูมีอาการอักเสบเป็นฝี หูบวมแดง คันและมีน้ำเหลืองไหล

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทำลายประสาท หู คลื่นที่ออกจากมือถือคือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อใช้โทรศัพท์นานๆ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะส่งผลต่อระบบการทำงานของคลื่นๆไฟฟ้าและอิเล็กโตรไลต์ในหูนอกจากนี้ยังทำให้โมเลกุลในหูเกิดความสั่นสะเทือนจนทำให้หูร้อน หากมีพฤติกรรมเช่นนี้ประจำจะทำให้เส้นประสาทในหูถูกทำลายได้ จนทำให้ได้ยินเสียต่างๆ น้อยลง

  • วิธีป้องกันเบื้องต้น

ใช้อุปกรณ์เสริมในการใช้โทรศัพท์ เช่น หูฟัง Small Talk หรือบลูทูธ Bluetooth เพื่อหลีกเลี่ยงคลื่นเสียงและความร้อนโดยตรง

เช็ดทำความสะอาดโทรศัพท์ด้วยแอลกอฮอล์ และใช้โทรศัพท์มือถือเท่านที่จำเป็น

  1. การพักผ่อนไม่เพียงพอ

ทีแรกฉันยังไม่ค่อยเข้าใจนักว่าการพักผ่อนมีผลต่อระบบการทำงานของหูอย่างไร แต่เมื่อคุณหมอเล่าให้ฟังว่าการพักผ่อนมีความสำคัญต่อหูในส่วนที่เกี่ยวกับการทรงตัว

  • วิธีป้องกันเบื้องต้น

– พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียดเพื่อให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดี

-ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และไม่ควรกินอาหารไขมันสูง เพื่อป้องกันโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของหูชั้นในได้

  1. ยาบางชนิด

อีกปัจจัยหนึ่งที่คุณหมอบอกว่าคนทั่วไปมักมองข้ามคือการกินยาบางชนิดเพราะสารเคมีในยาบางชนิดส่งผลต่อเส้นประสาทหู

ยาปฏิชีวนะ เช่นยาฆ่าเชื้อโรคหรือยาต้านเชื้อแบบทีเรียกลุ่มที่เรียกว่า แอมิโนไกลโคไซด์ เช่น เจนตามัยซิน (Gentamicin) กานามัยซิน (Kanamycin) หรือ แอมิกาซิน (Amikacin) ยากลุ่มนี้จะมีผลทำให้เส้นประสาทหูเสื่อมและทำให้การได้ยินเลียงลดลง

ยารักษาโรคบางชนิด เช่นยารักษาโรควัณโรค ยารักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ยารักษาโรคมาลาเรีย เหล่านี้ส่งผลให้ประสาทหูเสื่อมเช่นเดียวกัน

  • วิธีป้องกันเบื้องต้น

-ผู้ป่วยที่ต้องฉีดยาหรือกินยาชนิดดังกล่าวเป็นประจำ ต้องคอยสังเกตตัวเองว่าได้ยินเสียงน้อยลงหรือไม่ เพื่อจะได้รักษาได้ทันท่วงที

-หากมีอาการเกี่ยวกับหู ไม่ควรซื้อยาแก้อักเสบหรือยาฆ่าเชื้อกินเอง ไม่ควรซื้อยาแก้อักเสบหรือยาฆ่าเชื้อกินเอง เพราะอาจทำอันตรายต่อประสาทหูจนทำให้หูดับเลยก็ได้

  1. มลภาวะทางอากาศ
  • สาเหตุก่อโรค สิ่งแปลกปลอมในอากาศ เช่น ฝุ่นละอองและควันรถ คือตัวการทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคภูมิแพ้หรือเป็นหวัดบ่อยหากปล่อยให้โรคลุกลามจนเกิดการอักเสบหลังโพรงจมูกและคอ เชื้อโรคก็จะเดินทางจากหลังโพรงจมูกมาที่หูและเกิดเป็นโรคหูน้ำหนวกได้ในที่สุด
  • วิธีป้องกันเบื้องต้น

-รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเพื่อป้องกันอาการหวัด

-ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้หรือหวัดเรื้อรังต้องคอยสังเกตตัวเอง หากเป็นหวัดแล้วมีของเหลวลักษณะเหมือนเลือดผสมหนองไหลออกจากรูหู และมีอาการปวดหูร่วมด้วย ให้รีบไปหาคุณหมอ เพราะแก้วหูอาจอักเสบจนถึงขั้นทะลุแล้วก็ได้

ขอบคุณบทความจาก : http://articlescool.org/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%88/