Make Appointment

ผังผืดในมือและข้อมือ

02 Mar 2017 เปิดอ่าน 2745

ตำแหน่งที่สำคัญและพบบ่อยๆ มีดังนี้

1. ผังผืดรัดเส้นประสาทที่ข้อมือ (Carpal tunnel syndrome)

เป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากการกดทับของผังผืดบนเส้นประสาทที่บริเวณข้อมือ ทำให้มีอาการดังต่อไปนี้
ปวด ชาบริเวณฝ่ามือและนิ้วมือจะมีอาการข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง มักจะมีอาการเด่นชัดในมือข้างที่ถนัด โดยเฉพาะนิ้วโป้ง ชี้ กลาง และนิ้วนางครึ่งนิ้วเมื่อย มือง่ายเมื่อทำงานออกแรง มีอาการอ่อนแรงของมือ และนิ้วมือ เช่น กำมือได้ไม่แน่น หยิบจับของแล้วหล่นง่าย ถ้าไม่รีบรักษา จะสังเกต เห็นกล้ามเนื้อในมือฝ่อลีบ อาจพบว่ามีอาการมากขึ้นในตอนกลางคืน บางครั้งผู้ป่วยอาจตื่นขึ้นมาเนื่องจากอาการปวด แต่เมื่อสะบัดข้อมือ แล้วมีอาการดีขึ้น เพศหญิงพบได้บ่อยกว่าเพศชาย อายุที่พบบ่อยคือประมาณ 35-40 ปี สตรีอาจมีอาการขณะตั้งครรภ์ ผู้ ที่ใช้ข้อมือกระดกขึ้นลงบ่อยๆ หรือทำงานที่มีการสั่นสะเทือน ของมือและแขนอยู่เป็นเวลานาน ดังนั้นจะพบโรคนี้ได้บ่อยในกลุ่มแม่บ้านที่ทำกับข้าว ซักผ้า พนักงาน โรงงาน พนักงานขุด เจาะถนน

2. ผังผืดรัดเส้นเอ็นที่นิ้ว ( นิ้วล็อค )

ผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนนิ้วถูกล็อค นั่นคือ กำมืองอนิ้วได้ แต่เวลาเหยียดนิ้ว จะเหยียดไม่ออกเหมือนโดนล็อคไว้ จึงเป็นที่มาของคำว่า “นิ้วล็อค”ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Trigger Finger” เป็น โรคที่เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วบริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่ง โคนนิ้ว มีโอกาสเป็นได้ทุกนิ้ว ผู้ป่วยบางคนอาจจะเป็น 2 หรือ 3 นิ้วพร้อมกันได้ หรือเป็นที่มือทั้ง 2 ข้าง พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อายุประมาณ 40 – 50 ปี โดยโรคนี้ทำให้ผู้ป่วยเกิดความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยมากจะเกิดกับผู้ที่ใช้งานมือในลักษณะเกร็งนิ้วบ่อยๆ เช่น การทำงานบ้านต่างๆ การหิ้วของหนักการใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ ตัดผ้า การยกของหนักต่างๆ เป็นต้น

3. ผังผืดรัดเส้นเอ็นที่ข้อมือ ( Dequervain’s syndrome)

เป็นการอักเสบและตีบแคบของปลอกหุ้มเอ็น (tenosynovitis) ที่ ใช้ในการกระดกนิ้วหัวแม่มือ แต่การตีบแคบและอาการแสดงจะเจ็บบริเวณที่ข้อมือ โครงสร้างเอ็นสองเส้นที่มาบังคับการทำงานของนิ้วหัวแม่มือจะวิ่งในปลอกหุ้ม เอ็น เอ็นจะมีเยื่อหุ้มเอ็นซึ่งจะทำหน้าที่ทำให้เอ็นเคลื่อนในปลอกลื่นไหล เมื่อปลอกหุ้มเอ็นอักเสบหรือบวมจะทำให้เกิดอาการปวด (ตามรูป) การ ตรวจผู้ป่วยจะเจ็บมากขึ้นเมื่อกระดกข้อมือขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีแรงต้านการกระดกข้อมือ หรือต้องบิดหมุนขวด สาเหตุมักจะเกิดเนื่องจากการใช้งานของข้อมือและนิ้วหัวแม่มือในลักษณะกระดก ข้อมือซ้ำๆ เช่น การหยิบสิ่งของต่าง การทำงานในโรงงาน การทำงานสวน งานหนัก บางรายเกิดในช่วงที่ต้องอุ้มเด็กเป็นเวลานานๆ

ภาวะโรคทั้งสามที่กล่าวมา การรักษามักเริ่มต้นด้วยการปรับรูปแบบการทำงาน ลดสาเหตุที่ทำให้เจ็บและเกิดการอักเสบมากขึ้น อาจจะทานยาต้านการอักเสบ ยาลดปวดและลดบวมร่วมด้วย เมื่ออาการเป็นมาก เป็นมานาน และได้รับการรักษาด้วยวิธีต่างๆข้างต้นแล้วไม่ดีขึ้นหรือไม่หายสนิท สามารถใช้วิธีการฉีดยาต้านการอักเสบเฉพาะที่ หรือจะเลือกวิธีการผ่าตัดเพื่อให้อาการหายและไม่กลับมาเป็นอีก การเลือกวิธีการรักษาโดยการผ่าตัดควรปรึกษาแพทย์เพื่อได้อธิบายข้อดีข้อเสีย และการปฎิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัดได้อย่างครบถ้วน

โดย : นพ. สุขสันต์ ตั้งสถาพร

ขอบคุณบทความจาก : https://www.samitivejhospitals.com/th/%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B7%E0%B8%94/