นัดพบแพทย์

การรักษาโรคบ้านหมุน

05 Sep 2016 เปิดอ่าน 2653

เมื่อพูดถึงอาการบ้านหมุน เวียนศีรษะ หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม ส่วนมากเมื่อไปพบแพทย์ มักจะได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นอาการของน้ำในหูไม่เท่ากัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วอาการดังกล่าวอาจเกิดจากภาวะตะกอนในหูเคลื่อนได้เช่นกัน ทั้งนี้อาการดังกล่าวหากเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุอาจเสี่ยงทำให้เกิดอันตรายได้

พญ.ภาณินี จารุศรีพันธุ์ ฝ่ายโสต ศอ นาสิกวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า อาการบ้านหมุน หน้ามืด เวียนศีรษะ หากเกิดกับผู้สูงอายุในเบื้องต้นควรจะให้ผู้สูงอายุนั่ง หรือนอน ไม่ควรเคลื่อนตัว เพราะหากล้มขึ้นมาเสี่ยงที่จะกลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ ซึ่งสาเหตุอาจจะเกิดจากโรคต่างๆ ได้เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ

สำหรับอาการเวียนศีรษะที่เกิดจากตะกอนหินปูนในหูเคลื่อน จากข้อมูลผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯในช่วงอายุ 40-50 ปี พบว่า ร้อยละ 40 เกิดจากตะกอนหินปูนเคลื่อน และพบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชายร้อยละ 20 เกิดจากน้ำในหูไม่เท่ากัน และร้อยละ 10 เกิดจากเนื้องอกของเส้นประสาทคู่ที่ 8

พญ.ภาณินี กล่าวว่า คนส่วนมากคิดว่า อาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน คลื่นไส้ อาเจียน การได้ยินลดลงเกิดจากสาเหตุของน้ำในหูไม่เท่ากัน ทั้งนี้อาการของตะกอนหินปูนในหูเคลื่อนกับน้ำในหูไม่เท่ากันจะมีอาการที่คล้ายคลึงกันแต่จะมีข้อแตกต่างคือ เป็นเป็นอาการของน้ำในหูไม่เท่ากันจะมีอาการต่างๆ ดังที่กล่าวมานานเกิน  20 นาทีขึ้นไป ส่วนอาการของตะกอนหินปูนในหูเคลื่อนจะไม่เกิน 1 นาที

โดยปกติหูชั้นในของมนุษย์ มีอวัยวะควบคุมเกี่ยวกับการทรวงตัวและการได้ยินในอวัยวะควบคุมเกี่ยวกับการทรงตัวตะกอนหินปูนที่เคลื่อนไปมาโดยไม่หลุด เมื่อมาสาเหตุที่ต้อทำให้ตะกอนหินปูนหลุด เมื่อมีการเคลื่อนไหวศีรษะจึงทำให้ตะกอนหินปูนเคลื่อนไหวไปมาและส่งสัญญาณไปยังระบบส่วนกลาง และกระตุ้นให้เกิดอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนได้

นอกจากนี้ในบทความทางวิชาการยังพบว่า สิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการตะกอนหินปูนในหูเคลื่อน ได้แก่ การก้มเงยศีรษะ,การพลิกศีรษะบนเตียงนอน,การพลิกศีรษะอย่างรวดเร็ว,การมองขึ้น, การก้มมอง และสิ่งที่อาจทำให้อาการมากขึ้น

เช่น

1) ภาวะการเปลี่ยนแปลงความดันบรรยากาศ

2) การพักผ่อนไม่เพียงพอ

3) ความเครียด

4) ภาวะเมาเรือ เมารถ

อาการตะกอนหินปูนในหูเคลื่อน ด้วยตัวอาการจะไม่มีอันตรายแก่ผู้สูงอายุ ในการรักษาอาการตะกอนในหูเคลื่อน แพทย์จะนำคนไข้ไปกลิ้งบนเตียงแล้วตรวจสายตา ประกอบด้วย หากพบว่าเกิดจากตะกอนหินเคลื่อนจริง จะทำการรักษาด้วยการทำกายภาพโดยใช้การหมุนศีรษะไปมาประมาณ 5 - 10 นาที เพื่อทำให้ตะกอนกลับเข้าที่ ซึ่งการหมุน 1 ครั้งมีโอกาสหายได้ถึงร้อยละ 80 ส่วนคนที่หมุนหลายครั้งแล้วยังไม่เข้าที่ แพทย์จะให้คนไข้ทำการเคลื่อนไหวเพื่อให้ร่างกายชิน แต่หากยังไม่หายอีกจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งมีหลายเทคนิค ส่วนยาแก้เวียนหัวจะช่วยเพียงการทุเลาเท่านั้น

* ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.hfocus.org/content/2015/03/9415