ปัจจุบัน โรคปวดหลังพบได้บ่อยในหมู่ ผู้ที่มีอาชีพนั่งทำงานเป็นเวลานาน ตั้งแต่วัยรุ่น วัยทำงาน จนถึงวัยสูงอายุ สาเหตุของโรคปวดหลังในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการนั่งนานๆ หรือนั่งผิดท่าเช่น นั่งหลังโก่ง นั่งบิดๆ เนื่องจากการนั่งเป็นการเพิ่มแรงกดดันต่อกระดูกหลังมากที่สุด โดยเฉพาะนั่งนานๆ และโค้งงอผิดท่า บวกกับความตึงเครียดซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหลังเกิดการเกร็งจะยิ่งส่งผลให้ปวดหลังมากยิ่งขึ้น ดังนั้นถ้าบุคคลทั่วไปได้ทราบถึงสาเหตุของปัญหา และวิธีการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม จะทำให้อัตราการปวดหลังลดลง เพราะฉะนั้นคลินิกกายภาพบำบัดและธาราบำบัดได้นำเสนอวิธีการปฏิบัติตัวและการออกกำลังกายเบื้องต้นให้ท่านผู้ท่านได้ลองปฏิบัติครับ กลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลัง • หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (herniated disc) • กระดูกหลังหัก (compression fracture) • กระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolithesis ) • ไขสันหลังตีบ (spinal stenosis ) • กระดูกสันหลังคด (Scoliosis) • กระดูกสันหลังเสื่อม (spondylosis) สาเหตุของอาการปวดหลังจากท่าทางที่ไม่เหมาะสม 1. ท่ายืน • อ้วนมากไปหรือมีหลังแอ่น • ใส่รองเท้าส้นสูงๆ กระดูกเชิงกรานจะบิดไป ทำให้เพิ่มส่วนโค้งแก่กระดูกสันหลังส่วนเอว มีแรงเครียดต่อหลัง • กระดูกสันหลังคด แรงหดตัวของกล้ามเนื้อหลัง ไม่สมดุลกัน 2. ท่านั่ง • นั่งทำงานในท่าที่หลังงอ ไหล่ห่อ เพราะโต๊ะทำงานเตี้ยเกินไปหรืออยู่ห่างจากตัวมากไป • นั่งเก้าอี้ที่มีความนุ่มมากไปทำให้ตัวงอ หลังโค้ง • การนั่งกับพื้นในท่านั่งพับเพียบ ลำตัวเอียงไม่เท่ากัน นั่งนานๆ ทำให้ปวดหลังและปวดเข่าได้ง่าย 3. ท่านอน การนอนในที่นอนที่นุ่มมาก ๆ หรือแข็งมากๆ จะทำให้หลังโค้ง งอ เอียง ได้ |
![]() |
||||||||||||||
ภาพแสดงท่าทางในการยกของที่เหมาะสม | ||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||
ภาพแสดงท่าทางในการทำงานที่เหมาะสม | ||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||
การบริหารร่างกายสำหรับอาการปวดหลัง 1. เพิ่มความยืดหยุ่นและทำให้กระดูกสันหลังและข้อต่อมีความคล่องตัว 2. การบริหารควรเริ่มจากท่าทางง่ายๆ และทำได้โดยไม่เหนื่อยมาก ไม่เกิดอาการปวดมากขึ้นเมื่อร่างกายมีความพร้อมมากขึ้น จึงค่อยเพิ่ม ท่าบริหารในท่าที่ยากขึ้นหรือให้จำนวนครั้งมากขึ้น 3. เริ่มจากจำนวนครั้งน้อย เช่น ท่าละ 5 – 10 ครั้งและเพิ่มเป็น 15 - 20 ครั้ง/วัน
|