นัดพบแพทย์

รู้จักเพื่อรู้ทัน มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

18 Aug 2016 เปิดอ่าน 3206

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพื่อให้รู้เท่าทัน โดยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ดังนี้

 มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin's Lymphoma)
- มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin's Lymphoma) เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองประเภทที่พบไม่บ่อยข้อมูลจากชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทยพบว่า ในปีจะพบมะเร็งชนิดนี้ได้เฉลี่ย 62,000 คน ในทั่วโลก และพบว่าเสียชีวิตจากโรคนี้เฉลี่ย 25,000 คน ในทั่วโลก เกิดในผู้ป่วยชายคิดเป็น 60 % และผู้ป่วยหญิงหญิง 40 % มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้จะมีการเจริญเติบโตของเชื้อมะเร็งค่อนข้างช้า

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน (Non - Hodgkin's Lymphoma)
- ข้อมูลจากชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทยพบว่า พบผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กินเฉลี่ย 286,000 คนในทั่วโลก ซึ่งพบในผู้ป่วยชาย 58% และเป็นผู้ป่วยหญิง 42% มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้สามารถแบ่งมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กินออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

- ชนิดค่อยเป็นค่อยไป (Indolent)
- ชนิดรุนแรง (Aggressive)


จะทราบได้อย่างไรว่าเราเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง?

สัญญาณเตือนภัยของร่างกายที่บ่งชี้ว่าอาจเป็นโรคมะเร็ง เกิดได้จากปัจจัยสี่ยงมากมายเช่นความเครียด อากหาร ร่างกายอ่อนแอ หรือแม้แต่ขาดความใส่ใจการดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย สาเหตโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองยังไม่มีการวินิจฉัยที่แน่ชัดว่าเกิดจากจุดสำคัญใดเป็นหลัก แต่สำหรับอากการของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่จะปรากฎและเป็นสัญญาณเตือนของร่างกายซึ่งพบได้จากความผิดปกติของต่อมน้ำเหลืองที่โตขึ้นจนเกิดก้อนบวมขึ้น จุดที่เกิดก็ตามจุดของต่อมน้ำเหลืองในร่างกาย เช่น บริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบ เป็นต้น ก้อนเนื้อบวมที่เกิดขึ้นจะไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด ผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนเป็นไข้ หนาวสั่น หรือมีเหงื่อออกมากๆในช่วงเวลากลางคืน มีอาการอ่อนเพลียและน้ำหนักลดลงโดยหาสาเหตไม่ได้ มีปัญหาในระบบการหายใจติดขัด และมีอาการไอเรื้อรังร่วมด้วย สัญญาณเตือนเหล่านี้ บ่งบอกว่าเราอาจเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ ดังนั้นควรหมั่นไปตรวจสุขภาพให้สม่ำเสมอเพื่อจะรู้เท่าทันร่างกาย

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง รักษาด้วยทางเลือกที่เหมาะสมกับโรคมากที่สุด

ก่อนสิ่งอื่นใดเมื่อพบว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการหาแนวทางรักษาโดยละเอียดและต้องเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับอาการของโรคจะได้ผลดีที่สุด โรงพญาบาลพญาไทมีศูนย์มะเร็งที่มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการวินิจฉัยและให้คำปรึกษาหาแนวทางในการรักษาผู้ป่วยให้ได้ประสิทธภาพมากที่สุดให้กับโรคที่เกิดขึ้น ด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย ในส่วนของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีแนวทางการรักษาได้หลายตามระยะของการเกิดโรค

1. รักษาด้วยการเฝ้าระวังโรค
2. รักษาด้วยเคมีบำบัด
3. รักษาด้วยการฉายรังสี
4. รักษาด้วยแอนตี้บอดี้
5. รักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด (Stem cell transplantation)

โดยการรักษาด้วยวิธีต่างๆที่กล่าวนั้น ขึ้นอยู่กับระยะอาการของโรคและการวินิจฉัยของแพทย์ผู้ให้การรักษา ความพร้อมของร่างกายผู้ป่วยก็เป็นสิ่งสำคัญร่วมด้วย การรักษาจึงจะประสบผลสำเร็จ

ผลที่ตามมาจากการรักษา ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเมื่อได้รับการรักษาอาจเกิดผลข้างเคียงหรือผลกระทบกับร่างกาย เกิดได้ทั้งผลข้างเคียงในระยะสั้น หรือระยะยาว คล้ายอาการของผู้ป่วยมะเร็งชนิดอื่น อาจมีอาการถ่ายเหลว หรือผมร่วง เมื่อรักษาด้วยการฉายรังสี หรือมีอาการปากแห้ง อ่อนเพลียได้พบว่าการรักษาด้วยเคมีบำบัดจะมีอาการอ่อนเพลียมากและเหนื่อยง่ายกว่าปกติ ผู้ป่วยบางครายผมร่วง คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว ซึ่งผลข้างเคียงเหล่านี้ ไม่ได้เกิดกับผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกราย

สร้างสุขภาพที่ดี...สร้างแนวป้องกันโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

อาหาร
เรื่องของอาหาร อย่างที่ทราบกันดีการดูแลสุขภาพเรื่องของอาหารควรเลือรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ให้ได้รับสารอาหารที่สมควร เพื่อให้ได้ความสมบูรณ์ที่สุด

สุขภาพ
มั่นรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการออกกำลังกาย อยู่บนพื้นฐานของความพอดี

สะอาด
ดูแลความสะอาดของร่างกายอยู่เสมอ ให้ความสำคัญกับการทำความสะอาดร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นจุดอับชื้น เช่น บริเวณใต้รักแร้ ใต้ราวนม หรือขาหนีบ ทวารหนัก หรือแม้แต่สุขภาพช่องปากก็ควรทำความสะอาดอยู่เสมอด้วยการแปรงฟัน ขจัดแบคทีเรียที่เกิดในช่องปากอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือหลังรับประททานอาหาร

อารมณ์
เรื่องของอารมณ์และสุขภาพจิต สิ่งเหล่านี้ก็มีผลกับการเกิดโรคได้เช่นกัน ไม่ควรเครียด หรือ ทำอารณ์ให้ขุ่นมัวบ่อยๆ อารมณ์ดีส่งผลให้สุขภาพจิตดีไปด้วย

 

รศ.นพ.สุภร จันท์จารุณี อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา โรงพยาบาลพญาไท 2 อินเตอร์เนชันแนล

* ขอบคุณข้อมูลจาก : http://m.exteen.com/blog/tawan2012/20150824/entry-1