วิตามินดี รักษา ติดเชื้อไข้เลือดออก

08 May 2018 เปิดอ่าน 877

วิตามินดี รักษา ติดเชื้อไข้เลือดออก

มีรายงานคนไข้ที่ติดเชื้อไข้เลือดออกจำนวน 5 รายและได้รับวิตามินดีเสริม พบว่า ช่วยทำให้อาการดีขึ้นและลดระยะเวลาของโรคได้
มีการศึกษาที่โรงพยาบาลในเมืองราวัลปินดี ประเทศปากีสถาน ให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้เลือดออก จำนวน 124 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆละ 62 คน พบว่าคนไข้ติดเชื้อไข้เลือดออกในกลุ่มที่ได้รับวิตามินดีรักษาตั้งแต่แรกทั้ง 62 คน มีแค่เพียง 1 คนที่โรครุนแรงต่อจนเป็นโรคไข้เลือดออก Dengue hemorrhagic fever 
ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ได้รับวิตามินดีอีก 62 คน มีจำนวนมากถึง 17 คนที่โรครุนแรงต่อจนเป็นโรคไข้เลือดออก 
โดยสรุปว่า คนไข้ที่ติดเชื้อไข้เลือดออกแล้วได้รับวิตามินดีรักษานั้นสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไข้เลือดออกรุนแรงตามมาได้

ปัจจุบันนี้มีการค้นพบว่าการทำงานของวิตามินดี ต้องมีตัวรับวิตามินดี Vitamin D Receptor ซึ่งไม่ได้เพียงมีที่ไตเท่านั้น แต่ยังมีอยู่ในแต่ละเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะและทุกระบบของร่างกาย เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาว สมอง ปอด หัวใจ กระเพาะ ลำไส้ ตับ ตับอ่อน ไต อวัยวะสืบพันธุ์ ต่อมลูกหมาก ผิวหนัง กระดูกและกล้ามเนื้อ

ที่สำคัญก็คือ วิตามินดี ในเม็ดเลือดขาวทั้งแมคโครฟาจ Macrophage และ เซลล์ลิมโฟไซท์ Lymphocyte 2 ชนิด ทั้ง B cells และ T cells นั้นมีบทบาทสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทั้งควบคุมการติดเชื้อโรคและลดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่ให้มากเกินไป

โรคไข้เลือดออกที่รุนแรงนั้นมีความเกี่ยวข้องกับทั้งปริมาณเชื้อไวรัสที่สูง High viral loads และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ตอบสนองให้ผลิตและหลั่งปริมาณสารไซโตไคน์ที่เป็นตัวเริ่มต้นการอักเสบ Overproduction of pro-inflammatory cytokines ที่มากเกินไป

มีการศึกษาพบว่าระดับของวิตามินดีในเลือดมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีต่อการติดเชื้อไข้เลือดออก การรับประทานอาหารเสริมวิตามินดีในขนาดที่เหมาะสมนั้นสามารถควบคุมการเพิ่มจำนวนของเชื้อไข้เลือดออกและควบคุมการดำเนินของโรคที่จะรุนแรงจากเชื้อไข้เลือดออกได้

เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดขาวแมคโครฟาจ Macrophage มีบทบาทสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในการตอบสนองต่อการติดเชื้อไข้เลือดออกในระยะแรก 
ได้มีการทดลองพบว่าวิตามินดีมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อไวรัสไข้เลือดออก โดยสามารถลดจำนวนเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกได้ และควบคุมการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน โดยลดปริมาณการหลั่งสารไซโตไคน์ที่เป็นตัวเริ่มต้นการอักเสบ Pro-inflammatory cytokines ที่ทำให้โรครุนแรงต่อไปได้

ทั้งนี้การศึกษาได้พบว่าบทบาทของวิตามินดีในการควบคุมการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันนี้อาศัยผ่านทางโมเลกุลอาร์เอ็นเอสายเดี่ยวสั้นๆ microRNAs

แหล่งอ้างอิง

1. วิตามินดี รักษาได้ทุกโรค จริงหรือ? Is vitamin D really a cure-all – and how should we get our fix?
https://www.facebook.com/ClinicDr.Manote/posts/780573915481114
2. High-dose of vitamin D supplement is associated with reduced susceptibility of monocyte-derived macrophages to dengue virus infection and pro-inflammatory cytokine production: An exploratory study. Giraldo DM, Cardona A, Urcuqui-Inchima S. Clin Chim Acta. 2018 Mar;478:140-151. 
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/29289621
3. Vitamin D serostatus and dengue fever progression to dengue hemorrhagic fever/dengue shock syndrome. Villamor E et al. Epidemiol Infect. 2017 Oct;145(14):2961-2970. 
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/28903788
4. Dengue fever - 8X higher risk for getting worse if low vitamin D – Sept 2017
https://vitamindwiki.com/tiki-index.php…
5. Effectiveness of Vitamin D in Prevention of Dengue. Haemorrhagic Fever and Dengue Shock Syndrome. Sadaf Zaman et al. Journal of Rawalpindi Medical College (JRMC); 2017; 21 (3): 205-207
https://www.journalrmc.com/…/5_%20Effectiveness%20of%20Vita…
6. Human macrophages differentiated in the presence of vitamin D3 restrict dengue virus infection and innate responses by downregulating mannose receptor expression. Arboleda Alzate JF et al. PLoS Negl Trop Dis. 2017 Oct 11;11(10):e0005904. 
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/29020083
7. Vitamin D-Regulated MicroRNAs: Are They Protective Factors against Dengue Virus Infection? Arboleda JF, Urcuqui-Inchima S. Adv Virol. 2016;2016:1016840. 
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/27293435
8. Metabolomics-Based Discovery of Small Molecule Biomarkers in Serum Associated with Dengue Virus Infections and Disease Outcomes. Voge NV et al. PLoS Negl Trop Dis. 2016 Feb 25;10(2):e0004449
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/26913918
9. Vitamin D role in Dengue virus replication and the inflammatory response in human macrophages. John Arboleda, Silvio Urcuqui-Inchima and Jolanda Smit. Frontiers in Immunology 6 January 2015.
https://www.frontiersin.org/…/conf.fimmu.201…/event_abstract
10. Micronutrients and dengue. Ahmed S et al. Am J Trop Med Hyg. 2014 Nov;91(5):1049-56. 
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25200269
11. Vitamin D: a new anti-infective agent? Borella E, Nesher G, Israeli E, Shoenfeld Y. Ann N Y Acad Sci. 2014 May;1317:76-83. 
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24593793
12. Association of vitamin D receptor gene polymorphisms with clinical outcomes of dengue virus infection. Alagarasu K et al. Hum Immunol. 2012 Nov;73(11):1194-9. 
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22917542
13. The 1α,25-dihydroxy-vitamin D3 reduces dengue virus infection in human myelomonocyte (U937) and hepatic (Huh-7) cell lines and cytokine production in the infected monocytes. Puerta-Guardo H. et al. Antiviral Res. 2012 Apr;94(1):57-61.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22387385
14. Antimicrobial implications of vitamin D.Youssef DA et al. Dermatoendocrinol. 2011 Oct;3(4):220-9. 
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22259647
15. Vitamin D and the anti-viral state. Beard JA, Bearden A, Striker R. J Clin Virol. 2011 Mar;50(3):194-200. 
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21242105
16. Vitamin D: modulator of the immune system. Baeke F et al. Curr Opin Pharmacol. 2010 Aug;10(4):482-96. 
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20427238
17. Clinical response in patients with dengue fever to oral calcium plus vitamin D administration: study of 5 cases. Sánchez-Valdéz E et al. Proc West Pharmacol Soc. 2009;52:14-7.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22128411
18. Susceptibility to dengue hemorrhagic fever in vietnam: evidence of an association with variation in the vitamin d receptor and Fc gamma receptor IIa genes. Loke H et al. Am J Trop Med Hyg. 2002 Jul;67(1):102-6.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12363051