นัดพบแพทย์

โรคปวดหลัง

09 Aug 2016 เปิดอ่าน 2910

อาการปวดหลังเป็นภาวะที่พบได้ค่อนข้างบ่อยในแต่ละวันมีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องหยุดงานและไปตรวจรักษากับเพทย์เรี่องปวดหลัง ทำให้เกิดวามสูญเสียทางเศรษฐกิจในแต่ละปีเป็นจำนวนมหาศาล การตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้องจึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับการรักษาผู้ป่วยปวดหลัง เพื่อ

 กระดูกสันหลังประกอบด้วยกระดูกเป็นท่อนๆ มาเรียงต่อกันซึ่งมีส่วนคอ 7 ท่อน ส่วนอก 12 ท่อน ส่วนเอว 5 ท่อน และต่อด้วยส่วนกระดูกก้นกบ ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละท่อนจะมีหมอนรองกระดูกสันหลังคั่นอยู่ นอกจากนี้ยังมีส่วนของเอ็นและก้ามเนี้อที่ยึดกระดูกสันหลังเหล่านี้ให้คงรูปร่างของโครงร่างกระดูกสันหลังอยู่ได้และทางด้านหลังจะมีช่องสำหรับให้ไขสันหลังและเส้นประสาทลอดออกมาเพี่อควบคุมการทำงานของแขนขาและส่วนต่างๆ ของร่างกาย ดังนั้นเมี่อเกิดมีภยันตรายต่อกระดูกสันหลังจึงอาจเกิดผลกระทบต่อระบบประสาทดังกล่าวได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดการชา การอ่อนแรงหรืออัมพาตของแขนขาขึ้นได้
 อาการปวดหลังมีสาเหตุต่างๆ มากมาย การซักประวัติของผู้ป่วย อายุ อาชีพ ลักษณะการทำงาน การเล่นกีฬา อุบัติเหตุต่างๆ ลักษณะการปวดหลังแล้วมีการปวดร้าวไปสะโพก และขา อาการชาอาการอ่อนแรงของขา ล้วนมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการตรวจร่างกายผู้ป่วยอย่างละเอียด นอกจากนี้ยังมีการถ่ายภาพเอกซเรย์ การถ่ายคอมพิวเตอร์ CT scan หรือ MRI รวมถึงการตรวจการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า EMG ตลอดจนการตรวจทางห้องชันสูตร LAB TEST ก็มีส่วนสนับสนุนการวินิจฉัยสาเหตุของโรคปวดหลัง

สาเหตุของโรคปวดหลังมีได้หลายอย่าง ได้แก่
 ภาวะหลังยอก (Acute and Chronic Back Strain) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยมากอาจเกิดจากการยกของหนัก การทำงานที่ต้องก้มๆ เงยๆ การขับรถทางไกลนานๆ การเล่นกีฬานานๆ เป็นต้น อาการหลังยอกมักเจ็บปวดบริเวณหลังแต่ไม่มีการปวดร้าวไปสะโพกและขา หรือขาชา
 ภาวะหมอนกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท (Disc Herniation) พบได้บ่อยในผู้ป่วยวัยทำงานอายุ 30-50 ปี อาการปวดหลังจะร่วมกับอาการปวดร้าวไปสะโพก ต้นขาด้านหลังลงไปถึงน่องหรือเท้า มีอาการชาและอ่อนแรงของขาข้างนั้นด้วย

 อุบัติเหตุ การหกล้มก้นกระแทกพื้นแรงๆ การตกจากที่สูง หรือการถูกรถชนอาจจะมีผลให้กระดูกสันหลังแตกหรือทรุดตัว (Compression Fracture)หากอุบัติเหตุรุนแรงมากๆ อาจเกิดผลกระทบต่อระบบประสาททางด้านหลังทำให้เกิดการขาหรืออ่อนแรงของขาได้
 การติดเชื้อ อาจเกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชี้อวัณโรคต่อดระดูกสันหลังก็ทำให้ผู้ป่วยมีไข้และปวดหลังอย่างมาก หากเกิดหนองไปกดทับระบบประสาทก็จะมีอาการชาหรืออ่อนแรงของขาได้
 การผิดปกติมาแต่กำเนิดของกระดูกสันหลัง(Congenital Disorders) ก็อาจจะเป็นสาเหตุของการปวดหลังได้เช่น Spian bifida occulta, Lumbarization of sacrum, Unilateral sacralization of lumbar vartibra, ect.
 ภาวะอื่นๆ ยังมีภาวะอีกหลายอ่าง ที่อาจจะเป็นสาเหตุของโรคปวดหลังได้ เช่น ภาวะหลังแอ่นมากๆ (Hyperlordosis) ภาวะอักเสบของกระดูกสันหลัง (Rheumatoid A rthritis, Ankylosing Spondylitis) เนื้องอกและมะเร็งซึ่งอาจจะเป็นที่กระดูกสันหลังโดยตรงหรือแพร่มาจากมะเร็งส่วนอื่นเช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด เป็นต้น

การรักษา
 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีอาการปวดหลังมักจะดีขึ้นโดยวิธีการรับประทานยา การนอนพักผ่อน การทำกายภาพบำบัด ร่วมถึงการแก้ไขสาเหตุที่ทำให้ปวดหลัง
 มีผู้ป่วยส่วนน้อยประมาณ 10% ของผู้ป่วยปวดหลังทั้งหมดที่อาการไม่ดีขึ้นโดยวิธรักษาดังกล่าวมาแล้ว และอาการปวดหลังเป็นมากขึ้น อาการชาขาและอาการอ่อนแรงของขาเป็นมากขึ้น ผู้ป่วยอาจจะต้องรับการผ่าตัดกระดูกสันหลังเพื่อแก้ไขการกดทับเส้นประสาทของหมอนกระดูกสันหลัง อาการต่างๆ ก็จะดีขึ้นได้
 ดังนั้นการตรวจวินิจฉัยสาเหตุของโรคปวดหลังอย่างถูกต้องจึงจะทำให้การรักษาโรคปวดหลังประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง


นายแพทย์พิเชษฐ  โชติจุฬางกูร
โรงพยาบาลธนบุรี

* ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.komchadluek.net/news/unclecham/109042