นัดพบแพทย์

โรคหัวใจในเด็ก : หัวใจพิการแต่กำเนิด....ลูกเราเป็นรึเปล่า?

16 Sep 2016 เปิดอ่าน 2186

สำคัญที่...หัวใจ

อวัยวะของร่างกายคนเราที่สำคัญ ในการดำรงชีวิตนั้นมีหลายอวัยวะ และที่สำคัญที่จะขาดไม่ได้คือหัวใจ โดยหัวใจคนเรานั้นมี 4 ห้อง ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปฟอกที่ปอดและสูบฉีดโลหิตที่ฟอกแล้วไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ ดังนั้นถ้ามีความผิดปกติหรือมีความพิการของหัวใจ ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้

นพ.วัชระ จามจุรีรักษ์ เป็นกุมารแพทย์ด้านโรคหัวใจ ที่มีประสบการณ์ยาวนานจนทำให้เห็นความสำคัญของการดูแลหัวใจดวงน้อยๆ ของเด็กๆ ซึ่งพบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหัวใจได้มากขึ้น อีกทั้งเป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจเป็นอย่างยิ่ง คุณหมอจึงได้ให้ข้อมูลที่น่ารู้สำหรับคุณพ่อคุณแม่เพื่อเตรียมรับมือกับโรคหัวใจของเด็กๆ ได้ทันท่วงที

โรคหัวใจในเด็ก แบ่งเป็น 2 ประเภท

  1. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ตรวจพบหลังคลอด หรือตรวจพบเมื่อโตแล้ว โดยอาการจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงและชนิดของความผิดปกติของโรค ถ้ามีความรุนแรงและความผิดปกติของโรคมากอาจมีอาการเขียวหรือหัวใจวาย และเสียชีวตได้
  2. โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลังคลอด ซึ่งมักจะมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ภูมิต้านทานต่ำ ขาดสารอาหารบางชนิด โรคที่พบได้บ่อย ได้แก่ โรคหัวใจรูห์มาติก โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคคาวาซากิ โรคหัวใจจากการขาดวิตามินบี 1 การเต้นผิดปกติของหัวใจ เป็นต้น

สำหรับโรคคาวาซากิปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด และพบมากขึ้นในปัจจุบัน

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่พบบ่อย ได้แก่

  • ผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่ว (Ventricular Septal Defect , VSD)
  • ผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว (Atrial Septal Defect , ASD)
  • หลอดเลือดระหว่างหลอดเลือดหัวใจ 2 เส้นไม่ปิด (Patent Ductus Arteriosus , PDA)
  • ลิ้นหัวใจห้องล่างขวาไปปอดตีบแคบ (Pulmonary Valve Stenosis , PS)
  • ลิ้นหัวใจห้องล่างซ้ายไปเลี้ยงร่างกายตีบแคบ ( Aortic Valve Stenosis , AS)
  • เส้นเลือดแดงใหญ่ตีบแคบ (Coarctation of Aorta)
  • หลอดเลือดดำใหญ่และหลอดเลือดแดงใหญ่ ออกจากหัวใจสลับกัน (Trasposition of the Great Arteries , TGA)
  • ผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่วร่วมกับลิ้นหัวใจที่ไปปอดตีบ (Tetralogy of Fallot , TOF) เป็นต้น

* ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/1/13/1009/th