เป็นโรคปวดศรีษะเรื้อรังมีอาการปวดศรีษะเป็น ๆหายๆ อาการปวดครั้งหนึ่งนาน 4-72 ชั่วโมง หากไม่ได้รักษา หรือนอนหลับระหว่างปวดศรีษะ มักมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ทนแสงจ้า หรือทนเสียงดังไม่ได้ อาการจะมีลักษณะอย่างน้อย 2 ข้อ ดังต่อไปนี้ ปวดศรีษะซีกเดียวบริเวณขมับหรือท้ายทอย ปวดตุ้บๆ ปวดปานกลางจนถึงรุนแรงทำงานไม่ไหว มีอาการปวดเพิ่มขึ้นเวลาที่ทำกิจกรรมทั่วๆไป เช่น เดินขึ้นบันได บางรายมีอาการนำ (aure) ซึ่งเกิดก่อนหรือพร้อมกับกับอาการปวดศรีษะก็ได้ส่วนใหญ่จะมีอาการทางตา มองเห็นภาพผิดเพี้ยน บิดเบี้ยว หรือเห็นแสงซิกแซก หรือแสงหิ่งห้อย ประมาณ 10 นาที ก่อนจะปวดศรีษะ
ถ้าปวดศรีษะไมเกรนบ่อยๆ ควรปฏิบัติอย่างไร
ข้อแรก คือสังเกตว่ามีตัวกระตุ้นอะไรบ้างที่ทำให้ปวดศรีษะไมเกรน ได้แก่ การอดนอน หรือนอนมากเกินไป เครียด กังกล อากาศร้อน ตากแดด หรือมองแสงจ้านานๆ โดยเฉพาะการขับรถทางไกล เหนื่อยมาก การอดอาหาร อาหารบางชนิด เช่น ไส้กรอก (มีดินประสิว) กล้วยหอม ช็อกโกแลต ชีส อาหารจีนซึ่งมีผงชูรสมาก ในผู้หญิงมักจะปวดหรือขณะมีประจำเดือน 2-3 วันแรก
ข้อสอง เมื่อเริ่มมีอาการปวดไมเกรน ควรหยุดพักในห้องที่มืดอากาศเย็นและเงียบสงบ ถ้าอาการไม่ดีขึ้น 10-20 นาที ควรรับประทานยาแก้ปวด ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะพยายามไม่ทานยาเพราะเกรงว่าจะทานยามากไป ซึ่งเมื่อมีอาการมากขึ้น ยาแก้ปวดธรรมดาจะคุมไมเกรนไม่ได้ และต้องมาโรงพยาบาลดังนั้นการทานยาแต่แรกจะช่วยลดการใช้ปริมาณมากในภายหลังยาที่ควรใช้ได้แก่ ยาแก้อาเจียน (motilium, plasi) ยาแก้ปวกกลุ่มพาราหรือ NAAID(ponatan, brufen) และยาไมเกรนโดยตรง( cafergot, sumatriptans)ผลข้างเคียงอาจจะมีอาการใจสั่นตัวชา คล้ายกับดื่มกาแฟ หรือมีปวดตามกล้ามเนื้อมากในบางราย
ข้อสาม ถ้ามีอาการมากกว่า 2 ครั้งต่อเดือน หรือต้องหยุดงาน ขาดเรียนจากไมเกรน ควรทานยาป้องกัน ซึ่งจะช่วยลดความไวของหลอดเลือดและการจดบันทึก(migraine diary) จะช่วยให้ผู้ป่วยและแพทย์ทราบถึงอาการปวด ตัวกระตุ้น การตอบสนองต่อยาและวางแผนการักษาร่วมกันได้ดีขึ้น
นอกจากการป้องกันและการรักษาที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว การปวดศรีษะบ่อยๆแบบเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปวดแบบเฉียบพลัน รุนแรง ก็ไม่ควรปล่อยละเลย เพราะอาการปวดไม่ธรรมดาอย่างที่คิด ถ้ารอช้าอาจสายเกินกว่าแพทย์จะช่วยได้ทัน
พญ.มาลัย พาณิชย์พงษ์
* ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.oknation.net/blog/lammai/2011/04/04/entry-1