เร็วๆ นี้มีคุณแม่ของรุ่นน้องท่านหนึ่ง ขณะประชุม หันไปถามคนข้างๆ ว่า "เขามาที่นี่ได้อย่างไร แล้วมาทำอะไรที่นี่?"
เมื่อบุตรมาถาม หลังจากมีอาการประมาณ 3 ชั่วโมง จำตัวเองได้ จำบุตรได้ แต่จำไม่ได้ว่า เช้าวันนั้นขับรถไปทำอะไร และบุตรจบการศึกษาเมื่อไหร่
รุ่นน้องตกใจมาก รีบพามาห้องฉุกเฉินเนื่องจากกลัวเป็น stroke
คำถามจากรุ่นน้องเกี่ยวกับภาวะนี้
1# ณ ห้องฉุกเฉินควรให้ยาละลายลิ่มเลือด (rtPA) ในภาวะลืมฉับพลันนี้หรือไม่
ขอแยกเป็นกรณีดังน้
ก. มาขณะอาการหายไปแล้ว คือกลับมาจำได้แล้ว -> ไม่ต้องให้
ข. มาขณะยังมีอาการลืมอยู่ ดูตามผัง จากบทความนี้ (Arena JE, 2015)
ถ้ามีอาการทางระบบประสาทอื่นร่วม โดยเฉพาะสมองส่วนที่เลี้ยงด้วย Posterior cerebral artery ได้แก่ลานสายตาผิดปกติ หรือมีภาวะพูดผิดปกติ (aphasia) -> โอกาสเป็น stroke สูง พิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือด และศึกษาลักษณะของเส้นเลือดสมอง
หากมาแบบไม่มีระบบประสาทอื่นร่วม แยกต่อด้วยระยะเวลาที่เป็น
เป็นในช่วงสั้นๆ เป็นนาที อาจเกิดจากภาวะชักที่ไม่เกร็งกระตุก (nonconvulsive seizure) พิจารณาตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ต่อไป
เป็นระยะเวลาเป็นชั่วโมง คิดถึง ภาวะ Transient global amnesia (TGA) มากที่สุด แล้วไปดูข้อวินิจฉัยในรายละเอียดอีก 7 ข้อว่าเข้าได้มากหรือไม่
อาการหลงลืม มีพยานรู้เห็น |
มีช่วงที่ความจำหายไปค่อนข้างชัดเจน (เช่น เช้าตื่นนอนยังจำได้ หลัง 10 น.จนถึง 16 น.จำไม่ได้) |
อาการหลงลืมไม่ลืมว่าตัวเองเป็นใคร (personal identity) และเสียแต่ความจำระยะเหตุการณ์ช่วงสั้นๆ เท่านั้น (แต่อาจมีความทรงจำระยะยาวบางส่วนเสียได้บ้าง) |
ไม่มีอาการทางระบบประสาทอื่นๆ |
ไม่มีลักษณะให้สงสัยโรคลมชัก |
อาการหลงลืมหายไปใน 24 ชั่วโมง (โดยมากภายใน 12 ชั่วโมง) |
ไม่มีภาวะศรีษะกระทบกระแทกหรือโรคลมชัก |
หากเข้าได้ทุกข้อและไม่มีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง โอกาสเป็น stroke ต่ำ สามารถแนะนำให้ดูอาการไปก่อน ภาวะนี้มักหายเองใน 12-24 ชั่วโมง
แต่หากมีปัจจัยเสี่ยง เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ Atrial fibrilation ความเสี่ยงเป็น stroke ก็สูงขึ้น มีรายงานผู้ป่วยจำนวนไม่มาก (case report) stroke ที่มีอาการแต่ amnesia ดังนั้นการให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือไม่จึงขึ้นกับการยอมรับผลดีผลเสียเป็นรายๆ ไป
2# ภาวะนี้เกิดจากอะไร
กลไกการเกิดยังไม่แน่ชัด แต่มีสมมติฐานว่าเกิดจากสมองส่วน Hippocampus ซึ่งเป็นสมองส่วนสร้างความทรางจำใหม่ มีการทำงานสูงขึ้นจนเกิดกรดแลคติกคั่ง (คล้ายเวลาเราออกแรงแขนยกน้ำหนักเยอะๆ ก็มีกรดแลคติกคั่ง) และสมองส่วนนั้นบวม ทำให้ไม่สามารถสร้างความทรงจำใหม่ชั่วขณะ
ภาวะที่กระตุ้น hippocampus มาก ได้แก่ อารมณ์เครียด ภาวะสัมผัสอาการเย็นจัด หนาวจัด เป็นต้น
3# การปฎิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ
ดังกล่าวขั้นต้น ว่าภาวะนี้ เกิดจากร่างกายจิตใจมีความตึงเครียด จึงควรปรับพฤติกรรม เช่นนอนหลับให้พอเพียง นอกจากนี้ เนื่องจากบางครั้งการแยกจากสมองขาดเลือดชั่วขณะ (TIA) ทำได้ยาก จึงควรลดปัจจัยเสี่ยงต่อหลอดเลือดสมอง เช่น ความมดันโลหิตสูง ไปด้วยคะ