การฝังเข็มในการรักษาโรคข้อไหล่ติด by หมอเมบี

20 Sep 2018 เปิดอ่าน 4833

                 โรคข้อไหล่ติด (肩周炎 หรือ “Periarthritis Humeroscapularis (PAHS); Frozen Shoulder”)

        “ข้อไหล่” เป็ นข้อที่เคลื่อนไหวได้มากที่สุดของร่างกาย ช่วยในการเอื ้อมหยิบของที่สูงเหนือศีรษะ และสามารถหมุนจนเอื ้อมมือไปด้านหลังได้ ข้อไหล่ ประกอบด้วย 1.กระดูก 3 ชิ ้น ได้แก่ กระดูกต้นแขน, กระดูกไหปลาร้า และกระดูกสะบัก 2.กล้ามเนื ้อที่มาหุ้มอยู่โดยรอบข้อไหล่ซึ่งมีหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของข้อไหล่

              โดยสามารถ แบ่งออกเป็ น 3 กลุ่ม ได้แก่ กล้ามเนื ้อกลุ่มหุ้มรอบหัวไหล่, กล้ามเนื ้อยึดตึงข้อไหล่และกล้ามเนื ้อกลุ่ม เคลื่อนไหวหลัก การบาดเจ็บบริเวณข้อไหล่เกิดขึ ้นได้เสมอ อาจเกิดจากการท างานเกินก าลังของระบบกล้ามเนื ้อ และเอ็นรอบๆข้อไหล่ หรืออาจเกิดจากการเล่นกีฬา หรือจากการอักเสบต่างๆ โดยปัญหาของข้อไหล่ส่วน ใหญ่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการง่ายๆ ได้แก่ การพักการใช้งาน, การห้อยแขน, การบริหาร หรือยืดเหยียด ข้อไหล่ เป็ นต้น โรคข้อไหล่ติด คืออะไร ในมุมมองของแพทย์แผนปัจจุบันโรคข้อไหล่ติด คือ โรคที่ผู้ป่ วยไม่สามารถขยับไหล่, ยกแขน หรือ หมุนได้สุดวงแขน ซึ่งเกิดหลังจากมีการบาดเจ็บ, การอักเสบ หรือการหนาตัวและยึดติดของเยื่อหุ้มข้อไหล่ โดยที่ข้อไหล่และกระดูกยังเป็ นปกติดีหากผู้ป่ วยรู้สึกเจ็บแล้วไม่ยอมขยับไหล่ ร่างกายก็จะรักษาแผลตนเอง โดยการเกิดพังผืดยึดติดที่เยื่อหุ้มข้อไหล่ขึ ้นมา ส่งผลให้ไปดึงรั ้งไม่ให้ผู้ป่ วยขยับข้อไหล่ได้เต็มที่ ต่อมาถ้า ไม่ได้รับการรักษาก็จะเป็ นมากขึ ้นจนขยับข้อไหล่ได้น้อยหรือไม่ได้เลย โรคข้อไหล่ติดจะพบได้น้อยในเด็กและผู้ที่มีอายุต ่ากว่า 40 ปีแต่จะพบได้มากในผู้ที่มีช่วงอายุ 40-70 ปีโดยเกิดกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย(โดยเฉพาะเพศหญิงในช่วงอายุ40-60 ปี) และพบว่าผู้ที่ เป็ นเบาหวาน, ต่อมไทรอยด์เป็ นพิษ และโรคหัวใจมีโอกาสเกิดโรคข้อไหล่ติดได้มากกว่าคนทั่วไป ผู้ป่วยโรคข้อไหล่ติดกว่าครึ่งหนึ่งมักมีอาการปรากฏทั ้งสองข้าง นอกจากนี ้ผู้ป่ วยที่ได้รับการ บาดเจ็บที่ข้อไหล่มาก่อนและต้องหยุดการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ชั่วคราวก็มีโอกาสเกิดอาการของโรคข้อ ไหล่ติดด้วยเช่นกัน ในมุมมองของแพทย์แผนจีนโรคข้อไหล่ติด คือ โรคที่ข้อไหล่และบริเวณรอบๆข้อไหล่เกิดการ เปลี่ยนแปลงของโรคตามหลักพยาธิวิทยา ท าให้ผู้ป่ วยเกิดอาการปวดไหล่และเคลื่อนไหวไหล่แบบติดขัด ในทางการแพทย์แผนจีนโรคข้อไหล่ติดสามารถเรียกได้หลายชื่อ ได้แก่ 肩关节周围炎、肩周 炎、肩凝风 หรือ 肩凝证 นอกจากนี ้ยังมีชื่อเรียกโรคนี ้ได้อีกมากมาย เช่น - ถ้าเวลาที่ผู้ป่ วยนอนแล้วรู้สึกเย็นที่หัวไหล่ เรียกว่า 漏肩风 หรือ 露肩风 - ถ้าหัวไหล่เคลื่อนไหวได้จ ากัดเพราะรู้สึกเหมือนข้อไหล่เกาะกันเป็ นน ้าแข็ง เรียกว่า 冻结肩 2 - โรคข้อไหล่ติดมักเกิดกับผู้ที่อายุ50 ปี ขึ ้นไป เรียกว่า 五十肩

 

                                      ในทางการแพทย์แผนจีนโรคข้อไหล่ติดนี ้จัดอยู่ในกลุ่มโรค“痹症”(肩周炎属痹症的范畴) มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายและมักเกิดกับผู้ที่อายุ50 ปี ขึ ้นไป เพราะผู้ที่อายุ50 ปี ขึ ้นไปข้อไหล่จะ เสื่อมลง มีการเคลื่อนไหวไหล่ที่น้อยลง รวมทั ้งได้รับความเย็น, ลม หรือความชื ้นมากระทบแล้วเกิดอาการ ปวดขึ ้น โดยอาการปวดจะเริ่มจากน้อยแล้วปวดหนักขึ ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่สามารถยกแขนได้เนื่องจาก เมื่อมีอาการปวดก็ยิ่งไม่กล้ายกแขน พอไม่กล้ายกแขนก็จะส่งผลให้ข้อไหล่ยิ่งติดและยิ่งปวดมากขึ ้น เมื่อ เป็ นระยะเวลานานๆจะเรียกว่า "โรคข้อไหล่ติดเรื ้อรัง" โดยแสดงอาการคือ - เคลื่อนไหวไหล่ได้น้อย, ยกแขนสูงไม่ได้, หวีผมหรือติดตะขอชุดชั ้นในไม่ได้, ยกแขนใส่เสื ้อผ้า ล าบาก, มือไพล่ไปด้านหลังไม่ได้, ข้างที่เจ็บจะแตะไหล่ตรงข้ามไม่ได้และไหล่2 ข้างไม่เท่ากัน - ปวดไหล่มาก เมื่อกดบริเวณรอบหัวไหล่มีจุดกดเจ็บหลายจุด บางครั ้งเจ็บลามไปถึงบ่าหรือหลัง โดยเฉพาะกลางคืนจะยิ่งปวดมากจนนอนไม่ได้

                                สาเหตุและกลไกการเกิดโรคข้อไหล่ติด คืออะไร ในมุมมองของแพทย์แผนปัจจุบันโรคข้อไหล่ติดสามารถเกิดขึ ้นได้เอง หรือเกิดได้จากการบาดเจ็บ เล็กๆน้อยๆ เช่น การถูกกระแทก และพบว่าโรคข้อไหล่ติดมักเกิดได้บ่อยในผู้ป่ วยโรคเบาหวาน, ไทรอยด์ หรือผู้ป่ วยที่มีความผิดปกติที่ปอด เช่น วัณโรคหรือจุดที่ปอด สาเหตุหลักของข้อไหล่ติด คือ การเสื่อม, การอักเสบ หรือการได้รับการกระตุ้นจากปัจจัยภายนอก รวมทั ้งการได้รับบาดเจ็บต่างๆของเนื ้อเยื่อที่อยู่รอบๆข้อไหล่ซึ่งเรียกว่า “ เยื่อหุ้มข้อไหล่ (Capsule) ” โดย ปกติเยื่อหุ้มข้อไหล่จะค่อนข้างยืดหยุ่นและสามารถขยายตัวหรือหดตัวตามการขยับของข้อไหล่ได้แต่เมื่อ เกิดภาวะข้อไหล่ติดขึ ้น เยื่อหุ้มข้อไหล่ดังกล่าวจะมีการอักเสบและหดตัวจนไม่สามารถยืดหยุ่นได้ เหมือนเดิม ท าให้ขยับข้อไหล่ได้น้อยลงและมีอาการปวดร่วมด้วยเสมอ รูปแสดงที่1 (1.)ข้อไหล่ปกติ (2.)ข้อไหล่ที่มีการยึดติด การกระแทกของข้อไหล่, การที่ขยับข้อไหล่เป็ นเวลานาน, การอักเสบของกล้ามเนื ้อและเอ็น โดยรอบข้อไหล่สามารถน าไปสู่การอักเสบของเยื่อหุ้มข้อไหล่ได้ทั ้งสิ ้น และเมื่อเกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อ ไหล่ดังกล่าวก็จะส่งผลให้ผู้ป่ วยมีภาวะข้อไหล่ติดในที่สุด

                       ในมุมมองของแพทย์แผนจีนโรคนี ้ได้มีการรักษากันมายาวนาน โดยสาเหตุของโรคนั ้นมีประโยคที่ กล่าวไว้ว่า “静、老、伤、寒是引起肩周炎发作的四大原因” กล่าวคือสาเหตุของโรคนั ้นเกิดได้ จาก 1. พฤติกรรมในการด ารงชีวิต เช่น การไม่ค่อยขยับข้อไหล่(缺少运动) 2. ร่างกายของคนผู้ป่ วยที่เสื่อมถอย(衰老)ในที่นี ้ไม่ใช่อายุที่มากขึ ้น แต่หมายถึงกระดูก, เอ็นและกล้ามเนื ้อของผู้ป่ วยที่เสื่อมถอย 3. การได้รับบาดเจ็บหรือได้รับอุบัติเหตุ(受伤)ซึ่งมีผลท าให้เกิดเลือดคั่งหรือลมปราณ ไหลเวียนไม่สะดวก จนท าให้เกิดอาการปวดไหล่ขึ ้น 4. การได้รับการกระตุ้นจากปัจจัยภายนอก เช่น ลม, ความเย็น, ความชื ้น, ความร้อน หรือปัจจัย ภายนอกหลายๆอย่างร่วมกันมากระทบ(受风、受寒、受湿、受热)จนท าให้เลือดและเส้น ลมปราณบริเวณไหล่ติดขัด และยังมีสาเหตุอื่นๆอีก ได้แก่ การเคลื่อนไหวข้อไหล่มากเกินไป เช่น ยกของหนัก เป็ นต้น ท าให้ ลมปราณและเลือดพร่องไม่สามารถหล่อเลี ้ยงเส้นเอ็นและกล้ามเนื ้อได้เพียงพอจึงเกิดเป็ นพังผืดยึดเกาะ หรือการได้รับบาดเจ็บและอุบัติเหตุหรือการได้รับความเย็นมากระทบก็สามารถส่งผลให้เนื ้อเยื่ออ่อน บริเวณรอบๆไหล่เกิดการอักเสบขึ ้นได้และเมื่อเกิดการอักเสบเป็ นเวลานานๆจะท าให้เกิดเป็ นพังผืดได้ เช่นกัน แต่ในผู้ป่ วยบางรายก็ไม่สามารถทราบสาเหตุของการเกิดโรคข้อไหล่ติดได้อย่างชัดเจน

                     ในมุมมองของแพทย์แผนจีนการรักษาที่ได้ผลของแพทย์แผนจีนนั ้นมีการรักษาร่วมกันทั ้งฝังเข็ม, การกระตุ้นไฟฟ้ า, การครอบแก้ว, การนวดทุยหนาด้วยน ้ามันนวด และการรักษาด้วยยาสมุนไพรจีน

(1) การฝังเข็ม (Acupuncture) การรักษาด้วยวิธีฝังเข็มนั ้นได้มีจุดฝังเข็มที่บ่งชัดว่าใช้กับอาการ ของโรคข้อไหล่ติด ได้แก่ จุด 肩髃、肩髎、肩前、肩贞、臂臑、阳陵泉 และจุดกดเจ็บบริเวณนั ้นๆ (阿是穴)เป็ นต้น และมีการกระตุ้นเข็มด้วยไฟฟ้ า โดยมากแล้วจะฝังทิ ้งไว้ประมาณ 20 นาทีหลังจาก เอาเข็มออกแล้วจึงรักษาต่อด้วยการนวดทุยหนาหรือการครอบแก้ว เป็ นต้น

(2) การนวดทุยหนา (Tuina) การนวดทุยหนาจะนวดด้วยน ้ามันนวดที่มีคุณสมบัติร้อน เช่น น ้ามัน นวดที่ท าจากดอกไม้แดง(红花油)ซึ่งมีส่วนผสมของอบเชย(Cinnamon;肉桂)ช่วยเพิ่ม คุณสมบัติร้อน เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื ้อและเส้นเอ็น

(3) การครอบแก้ว (Cupping) คือ การใช้กระบอกไม้ไผ่หรือถ้วยแก้วซึ่งเป็ นเครื่องมือทางการแพทย์ โดยใช้ความร้อนขับไล่อากาศภายในถ้วยออกจนเกิดสูญญากาศขึ ้น และรีบวางบริเวณจุดเส้นลมปราณบน ร่างกาย ถ้วยแก้วจะดูดกล้ามเนื ้อขึ ้นเพื่อกระตุ้นเลือดลมบริเวณต าแหน่งที่ถูกครอบแก้ว ท าให้ผิวหนัง บริเวณที่ครอบแก้วเป็ นจ ้าๆ อาจมีสีแดง, สีแดงคล ้า หรือบางสีออกอมม่วงเข้ม ซึ่งสีที่แสดงออกมาของ ผู้ป่ วยแต่ละรายอาจมีลักษณะแตกต่างกัน เนื่องจากภายในร่างกายเกิดการสะสมของของเสีย และเลือดที่ อุดตันภายในกล้ามเนื ้อบริเวณที่ปวดต่างกัน ซึ่งสีที่เกิดจากการท าครอบแก้วครั ้งแรกอาจมีสีเข้ม พอท าครั ้ง ที่2-3 ไปเรื่อยๆ ระดับความเข้มของสีจะลดลง ซึ่งนั่นแสดงถึงผู้ป่ วยมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื ้อดีขึ ้น

 

CREDIT    การศึกษาประสิทธิภาพของการฝังเข็มในการรักษาโรคข้อไหล่ติด

คณะการแพทย์แผนจีน

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปี การศึกษา2561 ภาคเรียนที่2