นัดพบแพทย์

ความดันโลหิต ทำไมเดี๋ยวสูง เดี๋ยวต่ำ?

29 Jul 2016 เปิดอ่าน 19593

คนไข้ :  คุณหมอคะ ทำไมความดันป้าสูงอีกหละคะ

คุณหมอ :  คุณป้าขาดยาหรือเปล่าคะ 

คนไข้ : ป่าวคะ ป้าไม่เคยขาดยาเลยค่ะ คุณหมอบอกว่าให้ป้าไปกินยาหลังวิหาร ป้าไม่รู้จะทำยังไงเลย เดินไปหน้าวิหารวกไปด้านหลังถึงค่อยได้กินค่ะ

คุณหมอ : งง? คุณป้าทำไมต้องไปกินยาที่วิหารด้วยล่ะคะ

คนไข้ : ก็คุณหน้าซองยาเขียนว่า ให้กินหลังวิหารไงคะ ป้าทำตามที่คุณหมอบอกอย่างเคร่งเครียด เดินไปที่วิหารวันละหลายกิโลกว่าจะได้กินยา

คุณหมอ : (เริ่มเข้าใจ) แล้วคุณป้ามีอาการอย่างอื่นอีกไหมคะ

คนไข้ : เนื่องจากต้องไปที่วิหารเช้า-เย็น เดินไกลๆ ทำให้ป้าปวดเข่ามากเลย จึงไปฉีดยาแก้ปวดที่คลี นิค และได้ยาแก้ปวดมากินด้วยค่ะ ป้าทำผิด หรือเปล่าคะ (รู้สึกผิด)

คุณหมอ : (ยิ้ม) คุณป้าคะ หมอขอโทษนะคะ เรื่องความเข้าใจผิด ความจริงหน้าซองเขียนไว้ว่า ให้กินยาหลังอาหาร แต่หมอไม่ทันได้อธิบายให้ป้าฟัง ทำให้ป้าต้องเดินไกลและปวดเข่า อาการปวดเข่า และยาแก้ปวดเข่าทำให้ความดันโลหิตสูงได้ค่ะ ไม่เป็นไรค่ะ ต่อไปนี้ไม่ต้องไปที่วิหารอีกนะคะ กินยาที่บ้านและให้เข่าได้พัก กินยาแก้ปวดเฉพาะที่จำเป็น และความดันจะดีขึ้นเองค่ะ


     จากประสบการณ์ของคุณป้าทำให้หมอต้องแนะนำเรื่องรับปะทานยาให้ดี เรื่องของความดันโล หิตนั้นมีปัจจัยมากมายมากระทบ ทำให้การควบคุมความดันทำได้ยาก ปัจจัยที่ทำให้การความดันโลหิตสูงและควบคุมได้ยาก ได้แก่
        1. ความเครียด นอนไม่หลับ กังวลตื่นเต้น
        2. ความเจ็บปวด ถ้ามีอาการปวดตามร่างกาย ยกตัวอย่างเช่นปวดข้อ
        3. ภาวะอื่นๆที่ทำให้ร่างกายอยู่ในสภาพตึงเครียด เช่น เป็นไข้ ภาวะซีด การอักเสบติดเชื้อ ไตทำ งานแย่ลง และอื่นๆ
        4. การรับประทานอาหารเค็มมากๆ ผู้ป่วยบางท่านชอบรับประทานอาหารรสชาดเค็ม  อาหารหมักดอง หรือพวกอาหารแห้ง อาหารสำเร็จรูปที่ขายตามท้องตลาด เมล็ดถั่วต่างๆเช่น ถั่วลิสงทอดมักจะคลุกเกลือ และของขบเคี้ยวอื่นๆ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่คนที่มีความดันโลหิตสูงต้องระมัดระ วัง เพราะอาหารเค็มจะมีเกลือโซเดียมมาก ทำให้ดูดน้ำเข้าสู่ร่างกายมาก ทำให้การรักษาความดันโลหิตสูงไม่ได้ผล
        5. ยาอื่นโดยเฉพาะยาแก้ปวดข้อต่างๆ ยาแก้หวัดลดน้ำมูกบางชนิด ยาคุมกำเนิด ยาเหล่านี้ทำให้ความดันโลหิตสูงได้


        เพราะฉะนั้นมีปัจจัยมากมายที่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงต้องระวัง ผู้ป่วยบางรายนี้เนื่องจากต้องเดินไกล ทำให้ปวดเข่า กระตุ้นให้ความดันโลหิตสูง บวกกับการรับประทานยาแก้ปวด และความกังวลเครียดเรื่องการรับประทานยา  ทำให้การควบคุมความดันเป็นไปได้ยาก


         นอกจากที่กล่าวมาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีความดันโลหิตสูงอีกแบบหนึ่ง ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่าwhite coat hypertension  หมายถึงผู้ป่วยมักมีความดันโลหิตสูงเวลามาพบแพทย์ แต่เวลาอยู่บ้านความดันจะปกติ สาเหตุเนื่องจาก บางครั้งมาพบแพทย์ต้องรอนาน มีความเครียด (กลัวจะไม่ได้ตรวจกลัวหมอว่าน้ำหนักไม่ลด และความกังวลสารพันอย่าง) นั่งรถมานาน บางคนอดข้าวอดน้ำมาเจาะเลือด เลยทำให้ไม่ได้รับประทานยาความดันมา  ความจริงแล้วเวลาแพทย์ให้อดอาหารเพื่อมาเจาะเลือดนั้น ต้องการเพียงอดอา หารพวกแป้ง น้ำตาล ไขมัน เท่านั้น ผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำและทานยาได้ตามปกติ เพราะฉะนั้นความดันที่คลินิกจึงสูงตลอด แต่ความดันที่บ้านจะปกติ เป็นเหตุให้ความดันเดี๋ยวสูงเดี๋ยวต่ำ ปรับไม่เข้าที่สักที วิธีการแก้ปัญหานี้คือ ให้วัดความดันที่บ้าน (ซื้อเครื่องวัดความดันแบบอัตโนมัติหรือแบบใช้หูฟังก็ได้ทั้งนั้น)วัดความดันตอนเช้า  กลางวัน และก่อนนอน จดบันทึกไว้ และนำผลความดันที่วัดได้มาให้หมอดูในวันที่นัดก็จะทำให้ได้ค่าความดันที่ถูกต้องแม่นยำกว่าความดันที่มาวัดที่คลีนิค เพียงครั้งเดียว


         ที่นี้มักมีผู้ป่วยมาตามเรื่องเครื่องวัดความดันอัตโนมัติว่าจะเชื่อถือได้หรือไม่ เพราะบางครั้งวัดเวลาเดียวกันแต่ความดันทำไมไม่เหมือนกัน หลักการของเครื่องอัตโนมัติส่วนใหญ่มีหลักการทำงานเหมือนกันคือจับสัญญาณเสียง โดยเสียงแรกที่จับได้จะเป็นเสียงของความดันตัวบน เสียงล่างจะเป็นเสียงของความดันตัวล่าง  เพราะฉะนั้นเครื่องมักจะเชื่อถือได้ ถ้าเราวัดได้ถูกวิธี วิธีการวัดความดันที่ถูกต้องคือ นั่งพักอย่างน้อย  15 นาที (ไม่ดื่มสุราและกาแฟ) ก่อนวัดวางเครื่องวัดความดันอยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ ระวังอย่าขยับแขนในระหว่างที่วัดเพราะถ้าขยับแขนแล้ว จะจับสัญญาณเสียงผิดไป ถ้าวัดแขนข้างไหนให้วัดข้างเดิมดู ถ้าวัด 2ครั้งไม่ต่างกันเกิน 10 mm.Hg.)  ถือว่าเครื่องนั้นใช้ได้  เพราะความดันของเรามักจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  มีโอกาสที่การวัดจะไม่เท่ากันเป๊ะๆทีเดียว  ความดันของเราเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามท่าทางอารมณ์  กิจ กรรมต่างๆ อากาศ และอื่นๆ เพราะฉะนั้นการวัดความดันต้องทำในสถานการณ์เดิมๆ เวลาเดิมๆ แขนข้างเดิม  จึงจะนับเป็นความดันที่เราต้องการ  ถ้าทราบอย่างนี้แล้วก็ไม่ต้องกังวลใจเรื่องความดันขึ้นๆลงๆอีก เพราะความดันขึ้นๆลงๆเป็นสิ่งปกติในคนเรา เหมือนใจคนก็ขึ้นๆลงๆตามอารมณ์ แต่ความดันเป้าหมายที่เราต้องรักษาไว้ในระดับที่ต้องการคือความดันขณะที่พักนิ่งๆ เพราะจะมีผลต่อหลอดเลือดหัวใจสมองและอื่นๆในระยะยาว

 

http://thaiheartdoctor.blogspot.com/2011/03/blog-post_9915.html