นัดพบแพทย์

เด็กซน คือ เด็กป่วยหรือ?

03 Aug 2016 เปิดอ่าน 4137

เป็นที่รู้กันค่ะ ว่าเรื่อง เด็กซน แม้ไม่ใช่ปัญหาร้ายแรง แต่ก็สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับคุณ พ่อคุณแม่ ได้ไม่น้อย แต่ก่อนที่จะเหนื่อย ท้อใจ หรือออกฤทธิ์ กำหราบความซนของลูกไปซะก่อน มาทำ ความเข้าใจที่มาที่ไปของพฤติกรรมสุดซนของลูกจาก พญ. อดิศร์สุดา เฟื่องฟู ที่ไม่เพียงจะเป็นกุมารแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก จากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีเท่านั้น แต่ยังเป็นคุณแม่ที่มี ลูกอยู่ในวัยนี้ด้วยค่ะ วัยนี้...วัยซน คุณหมอและคุณแม่บอกว่า จริงๆแล้วความซนเป็นธรรมชาติของเด็กวัย 3-6 ขวบเลยค่ะ พ่อแม่ควรจะ ภาคภูมิใจด้วยซ้ำถ้าลูกตัวเองซน ไม่นั่งนิ่งเงียบ หรือไม่ยอมเล่นอะไรเลย ส่วนกิจกรรมการซนของเด็ก แต่ละคนนั้นจะไม่เหมือนกันค่ะ เนื่องจากพัมนาการที่แตกต่างกันไป เด็กผู้ชายพัมนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ จะไวกว่าเด็กผู้หญิง

 ในขณะที่เด็กผู้หญิงนั้นจะมีพัฒนาการทางภาษาไวกว่าเด็กผู้ชาย เม่อถึงเวลาที่เขาคิดทำ กิจกรรมต่างๆตามพัฒนาการ ผู้ใหญ่มักจะมองว่าเด็กซน แต่จริงๆแล้วเขาต้องใช้พลังงานและความสามารถ ที่ค่อนข้างซับซ้อนขึ้น เพราะฉะนั้นคุณหมอแนะนำว่าเราควรจะสนับสนุนค่ะ เด็กช่วงวัยนี้จะมีความเป็นตัวของตัวเองค่อนข้างเยอะ (autonomy) สืบเนื่องจากพัฒนาการทางร่าง กายของเขาซึ่งเริ่มทำสิ่งต่างๆได้มากขึ้น เริ่มวิ่งได้ดี พูดเริ่มคล่อง มีทักษะความสามารถมากขึ้นเยอะเมื่อ เทียบกับเมื่อก่อน แต่เรื่องการตัดสินใจ การใช้เหตุผลยังไม่ดีพอ พฤติกรรมในการแสดงออกของเขาจะ เป็นการลองผิดลองถูกมากกว่า ช่วงวัยนี้จะลักษณะคล้ายๆกับวัยรุ่น คือ คิดว่าพึ่งพาตัวเองได้ไม่เหมือนกับเด็กเล็กๆ ที่ต้องให้อุ้มตลอด แต่ในขณะเดียวกัน เขายังพึ่งพาตัวเองตัวเองได้โดยไม่เต็มที่ เพราะฉะนั้นบางครั้งจะเกิดปัญหาพฤติกรรม ที่ขัดแย้งกัน เหมือนวัยรุ่นที่คิดว่าตัวเองเก่งแล้ว อยากออกจากบ้าน อยากคบเพื่อนเอง ทำอะไรเอง แต่ใน ขณะเดียวกันก็ยังต้องขอเงินพ่อแม่อยู่ ตัวเองสามารถช่วยเหลือตัวเองได้เพียงส่วนหนึ่ง แต่ก็ยังไม่ได้ร้อย เปอร์เซ็นต์

ซนมาก = ป่วย ?
แม้จะรู้ว่าอาการซนเป็นธรรมชาติของเด็กวัยนี้ แต่พ่อแม่หลายคนก็ยังวิตกกังวลว่าควรจะพาเจ้าตัวเล็กที่ตอนี้กำลังซนเหลือเกินนั้นไปหาหมอดีไหม ถ้าเป็นอย่างนั้นคุณหมอแนะนำว่าให้ลองสังเกตพฤติกรรมการซนของลูกก่อนค่ะ หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ จึงควรพาไปพบแพทย์ค่ะ
- ซนจนเกิดอุบัติเหตุบ่อย
ซนจนไม่รู้จักระมัดระวังตัวเอง เล่นแผลงๆเช่น ชอบปืนขึ้นไปบนที่สูงๆแล้วกระโดดลงมา ชอบวิ่งตัดหน้ารถ
- ซนจนขัดขวางพัฒนาการที่ควรจะเป็นของเขา
เช่น ซนจนไม่ฟังอะไรเลย สอนอะไรหรือให้ทำอะไรก็ไม่ฟัง
 
- ซนจนเป็นปัญหาเรื่องการเรียนและการเข้าสังคม
เช่น ชอบเล่นแรงๆ จนเพื่อนๆไม่อยากเล่นด้วย หากลูกน้อยวนขนาดนี้ล่ะก็ ควรจะต้องไปพบแพทย์ค่ะ แต่ไม่ต้องตกใจค่ะ การไปพบแพทย์นั้นไม่ได้หมายความว่า เด็กซนทุกคนเป็นเพราะสมาธิสั้น หรือเป็นโรคนะคะ เพราะส่วนใหญ่สาเหตุของการซนที่พบบ่อยมากกว่าสาเหตุสองประการนั้นมากๆก็คือ ซนจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก และการเลี้ยงดูของพ่อแม่หรือบุคคลที่ดูแลเด็กนั่นเองค่ะ เช่น - อยู่ในบ้านที่ไร้ระเบียบวินัย - อยู่ในครอบครัวที่ยุ่งเหยิงตลอดเวลา มีสิ่งกระตุ้นเยอะๆ - อยู่ในบ้านที่มีแต่ความรุนแรง ทะเลาะตบตี ด่าทอ ลองสังเกต วิเคราะห์ดูนะคะว่าบ้านของเรามีลักษณะเหล่านี้หรือไม่ แล้วลองปรับพฤติกรรมตัวเอง พฤติกรรมของผู้คนที่รายล้อมรอบตัวลูก และปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับลูก ถ้าตัวเด็กไม่ได้มีความปกติอะไร แต่ซนจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมก็จะทำให้เรื่องซนๆ ของลูกลดน้อยลงไปบ้าง แต่ทั้งนี้ก็ต้องใช้เวลาเหมือนกันนะคะ 1 นาที เด็ก 3-6 ขวบ สนใจ 3-6 นาที ถ้าเขาสนใจได้เกิน 10 นาที ถือว่าเขาเก่งมากแล้วค่ะ เดี๋ยวนี้บางโรงเรียนมีการฝึกให้เด็กนั่งสมาธิ แต่ไม่ได้คาดหวังให้นั่งเหมือนผู้ใหญ่นะคะ อาจเป็นการนั่งนิ่งๆ หลับตา 3 นาที หรืออีกวิธีหนึ่งคือ ทำสมาธิด้วยท่าทาง วึ่งมักเป็นท่วงท่าที่ช้าๆ ประกอบเพลงจังหวะช้าๆฟังสบาย เพื่อให้เด็กจดจ่อกับท่าทางที่กำลังทำและเนื้อเพลง ค่อยๆฝึกที่ละนิด เด็กจะเริ่มเคนชินกับบรรยากาศที่สงบค่ะ ฝึกการควบคุมตัวเอง อาจมีการกำหนดเป็นตารางเลยว่าวันนี้เขาจะต้องทำอะไร เวลาไหนทำอะไรบ้าง เด็กเล็กที่ยังอ่านหนังสือไม่ได้ให้ลองใช้รูปภาพค่ะ เช่น 8 โมงต้องกินข้าว เราก็นำรูปเด็กกินข้าวมาแปะ 9 โมงต้องอาบน้ำ เราก็ใช้รูปตัวการ์ตูนอาบน้ำเป็นต้น เมื่อเขาทำเสร็จ อาจจะให้เขาเอาสติ๊กเกอร์มาแปะหรือขีดออก วิธีนี้จะช่วยลดการออกคำสั่งของพ่อแม่ลงได้ ทำโทษสักทีจะดีไหมหมอ ในการปรับพฤติกรรมของเด็กซน บางครั้งอาจต้องมีการลงโทษกันบ้าง แต่วิธีลงโทษนั้นมีหลายแบบค่ะ การที่เราทำข้อตกลงกับลูกไว้ บอกเขาว่าถ้าหนูทำตามนี้ได้ หนูจะได้รางวัล ถ้าหนูทำตามนี้ไม่ได้ แม่จะงดรางวัล การงดรางวัลหรืองดทำกิจกรรม ที่เขาชอบถือเป็นการทำโทษแบบหนึ่งค่ะ ไม่แนะนำให้ลงโทษ โดยใช้ความรุนแรงหรือต่อว่าเขาให้อับอาย แต่เราควรจะใช้วิธีทำโทษแบบ positive มากกว่า เมื่อทำดีก็ได้รางวัล ทำไม่ดีก็ไม่ได้ แล้วคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ต้องใส่อารามร์อะไรกับลูก เขาเองจะเรียนรู้ว่าเมื่อเขาทำดีก็จะได้ดี เมื่อทำไม่ดีก็จะไม่ได้สิ่งที่เขาต้องการค่ะ การเลิกให้ความสนใจ(Ignoring) ก็เป็นการลงโทษอีกวิธีหนึ่งเป็นธรรมชาติของเด็กทุกคนที่ต้องการรับความสนใจจากผู้อื่น ฉะนั้นเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เราอาจใช้วิธีเลิกให้ความสนใจขณะที่เด็กกำลังกระทำพฤติกรรมนั้น เขาจะสังเกตว่าเมื่อเขาทำดีก็จะกอดและชื่นชม แต่ถ้าทำไม่ดีท่าทางของแม่จะไม่เหมือนเดิม เป็นการแสดงออกโดยใช้ภาษากาย ซึ่งเป็นรูปธรรมและเด็กสามารถเข้าใจได้ดีกว่าคำพูด สำหรับวัยนี้ เมื่อเขาทำไม่ดีเราควรตอบสนองเขาด้วยท่าทางนุ่มนวล แต่หนักแน่นและจริงจัง ถ้าเราตอบสนองเขาด้วยอารมณ์ แต่ขณะดียวกันก็ไม่เอาจริง เขาจะไม่รู้สึกว่าต้องทำอะไร แต่ส่วนใหญ่ที่พ่อแม่ตอบสนองลูกมักจะกลับกันค่ะ คือ พ่อแม่มักจะไม่มีความส่ำเสมอ บางครั้งลงโทษบางครั้งปล่อย แต่ในขณะเดียวกันก็จะใช้อาราณ์กับเด็กค่อนข้างเยอะ ซึ่งตรงนี้เด็กจะเห็นแบบอย่างของความก้าวร้าว เขาจะเรียนรู้ว่าคนใกล้ตัวแก้ปัญหาด้วยการใช้อารมณ์ อาจทให้ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับพ่อแม่นั้นแย่ลง วันนี้เขาไม่รู้ว่าเวลาดุเขา หรือเสียงดังกับเขาเพราะเรารักและหวังดีกับเขา เขาจะคิดว่าการดุนั้นหมายความว่าเราไม่รักเขา หากเราจะตีลูกในเวลาที่เขาทำผิดก็ไม่ควรจะมีอารมณ์รุนแรงร่วมด้วย ก่อนที่จะลงโทษต้องชี้แจงด้วยเหตุผลก่อนว่าเพราะลูกทำแบบนี้จึงต้องโดนทำโทษ
 
สุดท้ายคุณหมอฝากมาบอกถึงคุณพ่อคุณแม่ด้วยว่า วิธีรับมือกันเด็กซนที่สำคัญที่สุด คือ ตัวพ่อแม่เองต้องอดทน อย่าใช้อารมณ์กับลูก การปรับพฤติกรรมจะสำเร็จได้ต้องอยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ดี เด็กวัยนี้เขาไม่สามารถอยู่ในกฏระเบียบได้ทุกอย่างหรอกนะคะ และเสียว่าพฤติกรรมวนต่างๆของลูกล้วนแล้วเป็นสิ่งท้าทายควาสามารถของคุณพ่อคุณแม่ค่ะ
 
โดย พญ.อดิศร์สุดา เฟื่องฟู
 
* ขอบคุณข้อมูลจาก : http://women.sanook.com/2527/