นัดพบแพทย์

โรคข้อเข่าเสื่อม

01 Sep 2016 เปิดอ่าน 3128

ส่วนประกอบของข้อเข่า

ข้อเข่าประกอบด้วยผิวกระดูกอ่อนที่เรียบและสัมผัสกันเป็นอย่างดี ของกระดูก 3 ส่วน คือ
• กระดูกต้นขา
• กระดูกส่วนหน้าแข้ง
• กระดูกสะบ้า
นอกจากนี้แล้วยังมี เยื้อหุ้มข้อ เอ็นรอบข้อ เอ็นไขว้ในหมอนรองกระดูกและน้ำหล่อลื่นข้อ

โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis)
คือการเสื่อมสภาพของผิวข้อ สัมพันธ์กับการเสื่อมของร่างกาย เนื่องจากอายุมากขึ้นหรืออาจมีสาเหตุจากเคยมีกระดูกหักหรือบาดเจ็บมาก่อน หรือมีการติดเชื้อที่ข้อเข่ามาก่อน ทำให้ผิวข้อขรุขระไม่เรียบและมีกระดูกงอก

  • ข้อเข่าเสื่อมที่สัมพันธ์กับอายุมากขึ้น
  • เริ่มพบเมื่ออายุ 45 ปี ขึ้นไป
  • อาการมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
  • พบบ่อยใน
    – เพศหญิง
    – คนอ้วน
    – ผู้ที่มีแกนขาไม่ตรงตั้งแต่อายุน้อย เช่น ขาโก่ง
    – ผู้ที่ใช้งานข้อเข่าอย่างหนักเป็นประจำ เช่น เล่นกีฬาประเภท กระโดด วิ่ง
    – ผู้ที่ใช้งานข้อเข่าไม่ถูกต้องเป็นประจำ เช่น นั่งยองๆ

ความผิดปกติเมื่อข้อเข่าเสื่อม

ผิวที่เสื่อมทำให้เกิดการเสียดสีที่ผิดปกติ ในขณะเคลื่อนไหว ทำให้เกิด
• ข้ออุ่น บวมอักเสบ มีเสียงลั่น
• เจ็บปวด งอหรือเหยียดข้อลำบาก
• ไม่สามารถเดิน ขึ้น และ ลงบันได อย่างปกติ
• ลุกยืนลำบาก
• ข้อมีลักษณะผิดรูป เช่น โก่ง

 

    
ข้อเข่าภาพซ้าย                        ข้อเข่าภาพขวา

ข้อเข่าภาพซ้าย เป็นข้อเข่าที่ปกติ ซึ่งมีผิวข้อที่เรียบและสัมผัสกันดี ทั้งกระดูกต้นขา หน้าแข้งและสะบ้า

ข้อเข่าภาพขวา เป็นข้อที่มีการอักเสบเสื่อมจนผิวข้อไม่เรียบ ซึ่งทำให้เกิดอาการเจ็บเมื่อเคลื่อนไหว

 

การป้องกันข้อเข่าเสื่อม

1. รับประทานผักและผลไม้มากขึ้น เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน
2. เล่นกีฬาเหมาะสมกับวัย เช่น เดิน ว่ายน้ำ
3. บริหารกล้ามเนื้อรอบเอวสม่ำเสมอโดยเฉพาะกล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่า
4. หลีกเลี่ยงท่าปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม เช่น
• นั่งยองๆ
• นั่งพับเพียบ
• นั่งคุกเข่า
• นั่งขัดสมาธิ

การรักษาโดยไม่ผ่าตัด
• ทานยาแก้อักเสบ หรือแก้ปวด ซึ่งควรได้รับการดูแลโดยแพทย์เฉพาะทาง
• ใช้เครื่องช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า
• ใช้กายอุปกรณ์ เช่น ปลอกสวมข้อเข่า
• ทำกายภาพ เพื่อให้อาการปวดทุเลา
• บริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า

การรักษาโดยการผ่าตัด
ควรทำเมื่อมีอาการของโรคมาก และทำให้การดำเนินชีวิตประจำวันไม่เป็นปกติ ซึ่งการผ่าตัดมีวิธีดังนี้
• การจัดแนวกระดูกใหม่
• การเปลี่ยนผิวข้อเข่าเที่ยมซีกเดียว
• การเปลี่ยนผิวข้อเข่าเที่ยมทั้งข้อ

ผู้ป่วยรับการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าทั้งข้อ

   

ก่อนผ่าตัด            หลังผ่าตัด

    

ก่อนผ่าตัด          หลังผ่าตัด

ผู้ป่วยรับการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าซีกเดียว

     

  ก่อนผ่าตัด         หลังผ่าตัด

     

  ก่อนผ่าตัด           หลังผ่าตัด

 

ท่าเหยียดข้อเข่า

1. นั่งบนเก้าอี้ปกติ แล้วเหยียดข้อเข่าตรง
2. เกร็งกำลังค้างไว้ ประมาณ 10 วินาที แล้วจึงงอเข่าทำซ้ำประมาณ 200 ครั้งต่อวัน ไม่จำเป็นต้องทำต่อเนื่องกัน

    

ท่างอข้อเข่า

1. ยืนเกาะเก้าอี้ แล้วงอข้อเข่าดังภาพ
2. เกร็งกำลังค้างไว้ ประมาณ 10 วินาทีแล้วจึงเหยียดข้อเข่า
3. ทำซ้ำประมาณ 200 ครั้งต่อวัน

ท่ากางขา

1. ยืนเกาะเก้าอี้ แล้วกางขาดังภาพ
2. เกร็งกำลังค้างไว้ ประมาณ 10 วินาทีแล้ววจึงหุบขา
3. ทำซ้ำประมาณ 50 ครั้งต่อวัน

 

โดย รศ.นพ.อารี ตนาวลี

* ขอบคุณข้อมูลจาก : https://ascannotdo.wordpress.com