นัดพบแพทย์

ไวรัสตับอักเสบซี รู้ทัน ป้องกันรักษาได้

03 Sep 2016 เปิดอ่าน 999

ไวรัสตับอักเสบซี เป็นสาเหตุของโรคตับอักเสบเรื้อรังตับแข็ง และมะเร็งตับที่สำคัญเป็นลำดับต้นๆ ของโลกองค์การอนามัยโลกประมาณว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ราว 180 ล้านคน ซึ่งข้อมูลในประเทศไทย ประมาณการณ์ว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเกือบ ล้านคน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบซี ไวรัสตับอักเสบซีติดต่อทางเลือดและน้ำเหลืองเป็นหลัก โดยสามารถป้องกันโดยหลีกเลี่ยงการใช้ของมีคนร่วมกับผู้อื่นแต่อย่างไรก็ตาม พบว่าเกือบร้อยละ 40 ของผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในประเทศไทย ไม่มีประวัติความเสี่ยงใดๆ ในการรับเชื้อมาก่อน (เชื่อว่าอาจได้รับเชื้อจากเลือด หรือน้ำเหลืองของผู้ป่วยที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อม ผ่านเข้าร่างกายทางมีแผลเล็กๆ หรือเยื่อบุผิวอ่อนๆ โดยไม่รู้ตัว)

เมื่อไวรัสซีเข้าสู่ร่างกาย ร้อยละ 50-80 จะมีการติดเชื้อแบบเรื้อรัง เกิดตับอักเสบอย่างช้าๆ ทำให้เนื้อตับเสียหายไปเรื่อยๆ มีพังผืดมาแทนที่ การทำงานของตับค่อยๆ ลดลง ซึ่งระยะตับอักเสบเรื้อรังนี้ มักใช้เวลานาน 10-30 ปี โดยผู้ป่วยมักไม่มีอาการใดๆ จนในที่สุด มากกว่าร้อยละ 30 ของผู้ป่วยจะเกิดตับแข็งขึ้น และเมื่อเกิดตับแข็งมากขึ้นแล้วผู้ป่วยอาจมีอาการต่างๆ เช่น อ่อนเพลีย ท้องโต ขาบวม และตาเหลือง ซึ่งผู้ป่วยระยะตับแข็งนี้จะมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลงมาก และมักเสียชีวิตในไม่กี่ต่อมาจากตับวาย การติดเชื้อ หรือมะเร็งตับ

ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีมีความก้าวหน้าไปอย่างมาก การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีมีความก้าวหน้าไปอย่างมาก การรักษาในปัจจุบันโดยการใช้ยาฉีดอินเตอร์เฟอรอน (Peg-Interferon) ทุกสัปดาห์ร่วมกับรับประทานยาไรบาไวรินทุกวันเป็นเวลา 6-12 เดือนสามารถทำให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคได้ในร้อยละ 60-12 เดือนสามารถทำให้ผู้ป่วยสามารถป้องกันการเกิดตับแข็งและมะเร็งตับได้โดยผลการรักษาจะดีมาก ถ้ารักษาในระยะแรงๆ ของโรคการรักษาผู้ป่วยในระยะที่เป็นตับแข็งที่มีอาการรุนแรงหรือมะเร็งตับแล้ว อาจมีผลข้างเคียงมากหรือยังมีผลการรักษาไม่ดีนัก ดังนั้นการดูและรักษาผู้ป่วยโรคตับระยะแรกก่อนจะเกิดตับแข็งหรือมะเร็งตับจึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุด ดังนั้นผู้ติดเชื้อทุกราย ควรได้รับการประเมินเพื่อรับการรักษาตามความเหมาะสม ผู้ป่วยส่วนหนึ่งอาจยังไม่มีความจำเป็นต้องเริ่มการรักษาในทันที แต่ควรได้รับการติดตามเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสม สำหรับผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ว่าควรได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ก็เป็นที่น่ายินดีว่า ยากลุ่มนี้มีราคาลดลง กว่าเดิมมาก และได้รับการบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติบัญชีพิเศษ สามารถใช้กับผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีชนิดที่ 2 และ 3 ทุกรายที่มีข้อบ่งชี้เหมาะสม ทั้งนี้การรักษาอาจมีประสิทธิภาพ และผลข้างเคียงแตกต่างตามแต่ละบุคคลดังนั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิดต่อเนื่องกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ดังนั้นแล้วจึงมีความสำคัญที่เราทุกคนควรตระหนักถึงภัยเงียบใกล้ตัว ที่สามารถป้องกัน และรักษาได้ ซึ่งโรคไวรัสอักเสบซีในระยะแรก (ซึ่งผู้ป่วยมักไม่มีอาการ) สามารถตรวจวินิจฉัยได้จากการตรวจเลือดง่ายๆ ดังนั้น ประชาชนทั่วไปครวปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจคัดกรองไวรัสอักเสบซี โดยเฉพาะกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นพิเศษ ได้แก่ ผู้ที่เคยได้รับเลือด หรือส่วนประกอบของเลือด (ก่อนปี พ.ศ. 2535 ) ผู้ที่เคยใช้ยาเสพติดแบบฉีดเข้าเส้น ผู้ที่ต้องสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย หรือเข้าออกโรงพยาบาลเป็นประจำ ผู้ที่ใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่น หรือได้รับการสัก เจาะหู เจาะตามร่างกาย (ด้วยอุปกรณ์ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง) คนในครอบครัวของผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบกลุ่มรักร่วมเพศชาย ผู้ป่วยที่ไตวายเรื้อรัง และผู้ติดเชื้อ เอชไอวี นอกจากนี้บุคคลอีกกลุ่มที่อาจมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีคือผู้ที่เคยตรวจสุขภาพแล้วพบว่าค่าการทำงานของตับในเลือด (ระดับเอนไซม์ ALT และ AST) สูงผิดปกติเล็กน้อย ซึ่งอาจยังไม่ได้รับการตรวจหาสาเหตุของความผิดปกติอย่างครบถ้วน (สาเหตุของค่าการทำงานของตับผิดปกติที่พบบ่อย ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบบีและซี แอลกอฮอล์ และไขมันเกาะตับ)

นพ.เฉลิมรัฐ บัญชรเทวกุล

* ขอบคุณข้อมูลจาก : http://articlescool.org