ประมาณ 90% ของการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ ในปัจจุบันคือการรักษาโดยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดและการใส่ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ
(Percutaneous–Coronary Intervention) ซึ่งไม่ต้องผ่าตัดไม่ต้องดมยาสลบ แผลเล็ก ใช้เวลาเพียง 1-2 วันก็สามารถกลับบ้านได้ มีเพียงส่วนน้อยที่ต้องการเข้า
รับการรักษาด้วยการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ ( Coronary Bypass Surgery ) แต่การรักษาด้วยการทำบอลลูนนั้น ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายด้านไม่ว่า
จะเป็นความชำนาญของแพทย์ผู้ทำ หรือเทคโนโลยีของอุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย และได้ผลการรักษาที่ดีที่สุดปัจจุบันจึงมีการใช้อุปกรณ์ที่
ผลิตขึ้นพิเศษมาใช้ช่วยในการทำการรักษายกตัวอย่าง เช่น อัลตราซาวน์หลอดเลือดหัวใจ ( Intravascular – Ultrasound ) เป็นอัลตราซาวน์ที่ผลิตขึ้นพิเศษมี
ขนาดเล็กมาก ( เล็กกว่า 2 mm ) ใส่ไปในหลอดเลือดเพื่อวัดขนาดของหลอดเลือดและใช้ตรวจสอบหลอดเลือดก่อนและหลังทำบอลลูนเพื่อความแม่นยำลดผล
ข้างเคียงจากการทำบอลลูน เช่น การแตกของหลอดเลือดได้ อุปกรณ์ชิ้นถัดไป คือ สายวัดความดันในหลอดเลือด ( FFR )
ประโยชน์ คือช่วยเพิ่มความแม่นยำในการตัดสินว่าหลอดเลือดหัวใจนั้นตีบจริงและต้องทำการรักษาโดยการขยายหลอดเลือดหรือไม่ ซึ่งช่วยลดการทำ
บอลลูนโดยไม่จำเป็นและที่สำคัญผู้ป่วยแทบทุกคนที่ได้รับการรักษาโดยการทำบอลลูนต้องใส่ขดลวดถ่างขยาย ( Stent ) ซึ่งส่วนใหญ่ทำมาจากโลหะพิเศษ
ในปัจจุบันมีการผลิต ท่อถ่างขยายหลอดเลือดชีวภาพชนิดย่อยสลายได้ ( Bioresorbable Vascular Scapfold ) ซึ่งทำจากวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้เองภาย
ใน 3 ปี ซึ่งทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่ต้องมีสิ่งแปลกปลอมติดตัวไปตลอด โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา ได้มีการพัฒนาการรักษา
ในด้านนี้อยู่ตลอดเวลา เพื่อการรักษาที่ได้มาตรฐานระดับโรคและปลอดภัยที่สุด
โดย : นพ. สราวุธ ลิ้มตั้งตุระกูล
ขอบคุณบทความจาก : https://www.samitivejhospitals.com/th/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%9A/