| โดย นพ.รณศักดิ์ มงคลรังสฤษฎ์
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ อนุสาขาข้อเข่าและข้อสะโพก
ผ่าตัดข้อเข่าเทียมคืออะไร?
การผ่าตัดข้อเข่าเทียม (Total Knee Replacement) คือการเปลี่ยนพื้นผิวข้อเข่าที่สึกหรอ ด้วยวัสดุเทียมที่ทำจากโลหะ เซรามิก หรือพลาสติกเฉพาะทางการแพทย์ เพื่อบรรเทาอาการปวด และฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของเข่า ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเดิน ยืน นั่ง และทำกิจกรรมประจำวันได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง
ผ่าตัดข้อเข่าเทียมเหมาะกับใคร?
- ผู้สูงอายุที่มีข้อเข่าเสื่อมรุนแรง จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
- ผู้ที่มีขาโก่งหรือข้อเข่าผิดรูป
- ผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อมรุนแรง จากโรคข้ออักเสบ เช่น รูมาตอยด์
ข้อจำกัดของการผ่าตัดข้อเข่าเทียม
- อายุการใช้งานของข้อเข่าเทียมประมาณ 15–20 ปี
- ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีแรงกระแทกสูง
- ต้องควบคุมน้ำหนักตัวเพื่อลดแรงกดที่ข้อเทียม เพื่อเพิ่มอายุการใช้งานข้อเข่าเทียม
ข้อดีของการผ่าตัดข้อเข่าเทียม
- ลดอาการปวดอย่างชัดเจน (>90%)
- เดินได้ดีขึ้นและมั่นคง
- ฟื้นฟูความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน
- ลดการพึ่งยาแก้ปวดเรื้อรัง และผลข้างเคียงอันตรายจากการใช้ยาแก้ปวด
- เพิ่มคุณภาพชีวิตในระยะยาว
ข้อเสียที่ควรทราบ
- ต้องใช้เวลาฟื้นตัวหลายเดือน แต่ระยะยาวจะเดินดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับการไม่ผ่าตัด
- อาจมีอาการฝืดหรือตึงในช่วงแรก
- ความเสี่ยงจากการผ่าตัด หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ (<1%) เช่น การติดเชื้อหรือข้อหลวม
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดข้อเข่าเทียม
- พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด รวมถึง X-ray ข้อเข่า
- งดยาบางชนิดตามแพทย์แนะนำ
- เตรียมบ้านให้เหมาะสมกับการพักฟื้น
- ทำกายภาพเบื้องต้นเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
ขั้นตอนการผ่าตัดข้อเข่าเทียม
- ดมยาสลบหรือบล็อกหลัง
- เปิดแผลผ่าตัดบริเวณข้อเข่า
- ตัดผิวข้อที่เสียหายและติดตั้งข้อเข่าเทียม
- ปิดแผลและดูแลหลังผ่าตัด
การพักฟื้นหลังผ่าตัดข้อเข่าเทียม
- ลุกขึ้นนั่งและขยับเข่าใน 1–2 วันแรก
- เดินด้วยวอล์กเกอร์ในช่วงสัปดาห์แรก
- กายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มองศาการเคลื่อนไหว
- ฟื้นตัวเต็มที่ภายใน 3–6 เดือน
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ (โอกาสเกิดต่ำ)
- การติดเชื้อที่แผลผ่าตัด
- ข้อเข่าเทียมหลวม
- เส้นเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ
การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดข้อเข่าเทียม
- ฝึกขยับเข่าตามโปรแกรมกายภาพ
- รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
- ใช้อุปกรณ์ช่วยเดินในระยะแรก
- มาพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามผล
การออกกำลังกายหลังผ่าตัดข้อเข่าเทียม
- เดินออกกำลังกายบนพื้นราบ
- บริหารกล้ามเนื้อต้นขา ฝึกเหยียดงอข้อเข่าให้สุด
- ปั่นจักรยานอยู่กับที่
- ว่ายน้ำหรือเดินในน้ำ(แผลผ่าตัดหายสนิทแล้ว)
- โยคะยืดเหยียดเบาๆ
สรุป
การผ่าตัดข้อเข่าเทียม เป็นทางเลือกที่ช่วยฟื้นฟูคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมอย่างรุนแรง ภายใต้การดูแลโดยแพทย์เฉพาะทาง และการฟื้นฟูที่เหมาะสม ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจอีกครั้งครับ