นัดพบแพทย์

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ

15 Sep 2016 เปิดอ่าน 2482

เทคนิคการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ (Direct Anterior Approach Total Hip Replacement)


 "เจ็บปวดน้อย ฟื้นตัวไว เคลื่อนไหวสะดวก"

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ (Direct Anterior Approach Total Hip Replacement) เป็นการผ่าตัดทางเลือกใหม่ที่แตกต่างจากวิธีการผ่าตัดด้วยวิธีดั้งเดิม โดยการผ่าตัดแบบเดิมนั้นจะทำการผ่าตัดโดยเปิดแผลเข้าทางด้านหลัง (Posterior approach) หรือเข้าทางด้านข้าง (Lateral approach) ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่ต้องทำการตัดกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อสะโพกออก โดยการที่ตัดกล้ามเนื้อระหว่างการผ่าตัดนั้น จะส่งผลให้การฟื้นตัวหลังผ่าตัดของคนไข้ช้าลง เพิ่มความเสี่ยงต่อข้อสะโพกเทียมหลุดหลังผ่าตัดรวมถึงเพิ่มอาการเจ็บปวดหลังผ่าตัดอีกด้วย 

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแบบไม่ตัดกล้ามเนื้อนั้น เป็นการผ่าตัดโดยการเข้าด้านหน้า (Direct Anterior Approach) ซึ่งเป็นการเข้าระหว่างกล้ามเนื้อ Tensor fascia lata และ Sartorius ซึ่งจะไม่มีการตัดกล้ามเนื้อใดๆ ขณะผ่าตัด ทำให้การฟื้นตัวของคนไข้เร็วกว่าปกติ ลดอาการเจ็บหลังผ่าตัด สามารถเดินได้โดยไม่มีการเอียงของลำตัว (Limping) หลังผ่าตัด สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น และไม่มีความจำเป็นต้องระวังข้อสะโพกเทียมจะหลุดหลังผ่าตัดเหมือนการผ่าตัดด้วยวิธีดั้งเดิม เนื่องจากไม่มีการตัดกล้ามเนื้อ ย่อมทำให้อัตราการเกิดข้อสะโพกหลุดหลังผ่าตัดลดลง

นพ.พนธกร พานิชกุล ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่ากรุงเทพ กล่าวว่า “การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกข้อสะโพกเทียมแบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ เป็นการผ่าตัดรูปแบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และยุโรป และผมเชื่อว่าเทคนิคนี้จะกลายเป็นมาตรฐานการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกในประเทศไทยใข้อสะโพกเทียมนไม่ช้า”

ขณะนี้ทีมแพทย์ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่ากรุงเทพได้รับการฝึกฝนจากต่างประเทศและมีความเชี่ยวชาญ พร้อมให้บริการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแบบไม่ตัดกล้ามเนื้อให้ผู้ป่วยได้เคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

ผู้ป่วยที่เหมาะสมต่อการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ

- ปวดสะโพกเรื้อรังและทานยาไม่เห็นผล
- ปวดสะโพกเวลาขยับตัว
- ปวดสะโพกขณะนอนหลับ
- ปวดสะโพกทำให้ไม่สามารถขึ้นลงบันไดสะดวก
- ปวดสะโพกเมื่อพยายามลุกจากที่นั่ง
- สะโพกรู้สึกตึงหรือฝืด เป็นโรคข้อสะโพกอักเสบ

โดย นายแพทย์ พนธกร พานิชกุล

* ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/direct-anterior-approach-total-hip-arthroplasty