นัดพบแพทย์

เก๊าท์ กับเท้า ( Gout)

31 Mar 2021 เปิดอ่าน 1908

Gout เก๊าท์ Gout เกิดจากการสะสมของผลึกยูริก และค่ายูริกในเลือดสูง และยูริกสะสม ตามข้อต่างๆแล้วกระตุ้นให้เกิดการอักเสบฉับพลันตามข้อ การ ตกผลึกของ uric acid ในเลือดที่มีระดับสูงๆจนเกินระดับที่มันจะละลายน้ำได้หมดที่อุณหภูมิร่างกาย 37 องศา จึงเรียกว่า Hyperuriecaemia ในทางทฤษฎีจากหลอดทดลองคือมากกว่า 6.8 mg/dl ผลึกมักไปสะสมที่ข้อเล็กๆก่อน ข้อแรกที่มักอักเสบ90 % คือข้อนิ้วโป้งเท้า ตามมาด้วย ข้อเท้า ข้อเข่า นอกจากนี้ผลึกยังสามารถไปสะสมอยู่ตามเนื้อเยื้อต่างๆเกิดเป็นก้อนแข็งนูนได้เรียกว่าก้อนโทฟัส (Tophus) ความเสี่ยง 1. เพศชาย 2. อาหารที่มี purine สูง 3. ดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 10กรัมต่อวัน 4. มีประวัติครอบครัวที่เป็นโรค 5. มีปัญหาโรคไต สำหรับ อาหารที่เพิ่มความเสี่ยง ให้เกิด เก๊าท์ คือ เช่น สารเพิ่มความหวาน น้ำตาลฟรุ๊กโทส อาจจะพบในผลไม้ได้ เช่น แอปเปิ้ล ลูกแพร ส้ม และที่สำคัญและหลีกเลี่ยง คือ แอลกอฮอล์ และกลุ่มอาหารเนื้อแดง การรักษาโดยไม่ใช้ยา Non-pharmacologic treatment ลดอาหารที่เป็นกลุ่มเสี่ยงทำให้เกิด เก๊าท์ ประคบเย็นลดการอักเสบในช่วงต้น ใส่ toe cushioning padding ซับพอร์ตช่วงที่เกิดเก๊าท์ ลดการลงน้ำหนัก ใส่แผ่นรองที่ off loading หรือกระจายน้ำหนักได้ ลด แรงกระแทกที่ joint หรือข้อต่อ สวมใส่รองเท้า ประเภท Rocker sole ประเภท toe rocker หรือ negative heel rocker สำหรับการใช้ยา Pharmacological treatment เป้าหมายคือ Uric acid lowering treatment (ULT) การลดระดับ uric acid ในเลือดลงให้มีความเข้มข้นต่ำกว่าที่จะเกิดผลึก ได้จะช่วยป้องกันการแสดงอาการของโรคได้ จุดอิ่มต่ำดังกล่าวในทางทฤษฎีเคมีคือ 6.8 mg/dl แต่ในทางปฎิบัติที่ guideline ต่างๆแนะนำจะแนะนำให้ลดลงให้ได้น้อยกว่า 6 mg/dl ตัวเลขนี้เองเป็นเป้าหมายการรักษาระยะยาวของเรา Lifestyle modification ลด เลิกเหล้า ลดการบริโภคโปรตีน purine (พบมากในอาหารทะเล สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ และยีสต์) ลด high-fructose corn syrup (ผลไม้ชนิดหวานๆ) ลดน้ำหนัก ทั้งหมดนี้มีวิจัยยืนยันว่าลดระดับ uric acid ในเลือดได้ หมอเฟิร์ส สิทธิพงษ์ มีภักดี Pod Med , Clinical adv pod Reference - American college of rheumatology guideline for the management of gout 2020